Adsense




วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

ผมมารู้จัก Autodesk Inventor ได้อย่างไร แล้วทำไมต้อง Inventor

Sarawut  |  at   22:54  |   |  No comments

         สวัสดีปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ นะครับ ขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขนะครับ..
เข้าเรื่องในหัวข้อเลยนะครับ เมื่อก่อนๆสมัยผมเริ่มหัดเขียนแบบใหม่ๆ (หัดเองนะครับไม่ได้ไปเรียนที่ไหน) ตั้งแต่ Autocad นู้น ... เขียนๆ หยุดๆ ไม่ได้จริงๆจังๆ เลยไม่ไปถึงไหนสักที  แต่สงสัยจังว่าคนออกแบบเครื่องกลทำไมเขาเขียนได้เก่งจัง แล้วแต่ละเครื่อง เขาจะใช้เวลาเท่าได? แล้วเขาต้องเขียนทุกชิ้นส่วนเลยเหรอ? แล้วทำไมเขาถึงได้ออกแบบแล้วเขียนได้เป็นเครื่องๆ ระยะถูกต้องแม่นยำแล้วเหมือนจริงมากๆ ส่วนตัวผม แค่แบริ่ง ตัวเดียว ใช้เวอร์เนีย 1 อัน นั่งวัดเล็งแล้วเล็งอีก ใช้เวลาหลายชั่วโมง T-T จึงเริ่มท้อให้การเขียนแบบ

        พอเวลาผ่านไป เหตุการณ์บังคับเพราะวิชาโปรเจควิศวกรรมเครื่องกล (ไม่อยากจะคุย โปรเจคของผมคือ สกู๊ตเตอร์ ไฮบริด แต่ทำไม่สำเร็จนะครับ 55 ) ซึ่งต้องได้เขียนแบบระบบส่งกำลัง และสกู๊ตเตอร์ทั้งคัน แล้วผมก็มาหัด Autocad 3D อีกครั้ง แต่ก็เหมือนเดิมทำไมมันยากอะไรเช่นนี้ จะเขียนเฟืองแต่ละตัว จะเขียนยังไง เปิดหนังสือ Designs ด้วยก็พอได้แต่ระยะ มืดแปดด้าน แต่พอดีว่าบ้านผมมี Internet เลยลองเซิทหาวิธีเขียน เฟืองเกียร์ จนได้ไปเจอ โปรแกรมออกแบบเครื่องกล  3D ว้าว..น่าสน ซึ่งโปรแกรมที่ผมรู้จักก็คือ Solidswork ซึ่งผมไม่รอช้า ไปหาซื้อแผ่นมาลองเลย (เป็นชุดเพื่อการศึกษานะครับ อยู่แถวๆร้านขายแผ่นเกมส์...อิๆ) แต่พอได้แผ่นมาแล้ว ด้วยความที่อยากเขียนมากจนลืมดูว่า โปรแกรมเขียนแบบจะต้องใช้ทรัพยากรของ Computor ขั้นต่ำเท่าไหร่ ได้แผ่นมาก็ลงไม่ได้อีก โถ่ชีวิต... เลยไม่ได้ใช้ Solidswork ซะที จากนั้นสมัยที่เรียนก็ได้ยินอาจารย์ที่คณะ พูดอีกคุณจะเก่ง เขียนแบบ Solidswork แค่ไหน พอเข้าไปทำงานโรงงานเขาใช้ Autocad ยังไงคุณก็ต้องเขียน Autocad อยู่ดี ได้ยินแบบนี้แล้วอ่าว...จริงหรือปล่าวหว้า.... แล้วตกลงควรจะหัด Solidswork ดีหรือปล่าว หรือจะกลับไปเอา Autocad เหมือนเดิม ........... 
      อยู่มาวันหนึ่งผมชอบเดินเข้าร้านหนังสืออยู่แล้ว ชอบซื้อหนังสือแต่ก็ อ่านไม่ค่อยจบ 555 เช่น Autocad , PLC , PIC microcontroller (อันนี้ซื้อผิด 55 เพราะเมื่อก่อนผมบ้า PLC ไปพักหนึ่ง พอเห็นแว๊ปๆนึกว่า PLC ที่ไหนได้พอมานั่งอ่าน เป็น PIC ) แต่พอมาอ่าน PIC แล้ว เริ่มชอบเพราะมันใช้อุปกรณ์ ราคาถูกกว่า PLC มากๆ สามารถทดลองได้เอง แต่ติดที่ ไม่เก่ง Electronic อีก ก็หาอีกที่มันง่ายกว่า PIC มีอีกไหม ก็ไปเจออันนี้ Arduino อันนี้ก็บ้าไปอีกพัก.. แต่สำหรับโปรเจค เทพ สกู๊ตเตอร์ ไฮบริด ก็ได้ใช้ตัว Arduino เป็นหัวใจของระบบนะครับ ถึงแม้ว่าผมจะไมได้เขียนเองก็ตามแต่ก็พอรู้นิดๆหน่อยๆ ซึ่ง มันยังเป็นความฝันอีกอย่างของผม ว่าสักวันผมต้องเก่งคอนโทรล ... อายุ 30 กว่า นี้ยังฝันได้นะครับ...อิๆ
จนมาเจออีกเล่ม Autodesk Inventor 2011 

     แต่เป็นหนังสือที่ห่อพลาสติกไม่สามารถเปิดอ่านในร้านได้  แต่ยิ่งดูไปอีก นี้มันค่ายเดียวกันกับ Autocad นี้หว่า ค่ายเดียวกันมันต้องทำงานร่วมกันกับ CAD ได้แน่ๆ เงินเหลือ 1000 ค่าหนังสือ 600 หุๆ ยังพอเหลือซื้อ มาม่า ประทั้งชีวิตได้อยู่ จากนั้นเลยได้รู้จักกับ Inventor ตั้งแต่นั้นมา นี้คือเหุตผลที่ผมใช้ Inventor ครับ แต่ก็ไม่ได้บ้ามากเท่าไหร่ แค่ 1เดือนแรกวันละ 6 ชั่วโมง พอจบเล่มนี้ก็ไปต่อใน Youtube อีก แล้วก็เขียนบ้างหยุดบ้าง เพราะโปรเจคเทพ ของผมไม่เวิร์คเท่าไหร่ ซึ่งผมเองก็ทำไม่สำเร็จผมก็เลยเลิกทำ แต่ผมก็พอเขียนแบบ Inventor ได้บ้าง นี้คือรูปโปรเจคเทพที่ผมทำ ฮ่าๆ.. 
          ส่วนด้านล่างนี้ก็คือรูปจริงที่สร้างนะครับ แต่ติดที่ คอนโทรลไม่จบ หมดไปหลายหมื่น(ซึ่งภาระผมเยอะมาก เมีย 1 ลูก1 )ทำมาเกือบ 2 ปีแล้วแต่ไม่เห็นวี่แวว ว่ามันจะวิ่ง ก็แค่วิชาเดียวทำอย่างไรให้มันจบไวที่สุด ผมเลยยอมครับเลยทำหัวข้ออื่นที่ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือนแล้วจบไวกว่า T-T 





     จากนั้นมา Inventor ก็เข้ามาแวะเวียนในชีวิตผมอีก เพราะโปรเจคหัวข้อใหม่ ซึ่งเกี่ยวกับการอบแห้ง คราวนี้ สำเร็จแล้วจบด้วยเวลา 6 เดือน ซึ่งผมก็ได้ใช้เจ้า Inventor ออกแบบอีกเช่นเคย(ซึ่งผมก็ไม่เคยไปทำงานออกแบบที่ไหนนะครับ ส่วนใหญ่หาเอาใน Internet) และโปรเจคนี้มีเพิ่มเติมอีกโปรแกรมหนึ่ง คือ Autodesk Simulation CFD เป็นโปรแกรมจำลองความเร็วลมและความร้อน จะเห็นได้นะครับค่าย Autodesk อีกแล้วฮ่าๆ ส่วนโปรเจคนี้ผมจะได้มาเล่าให้ฟังอีกทีนะครับ . . . 

         ปล.ผมอยากจะบอกว่าทุกโปรแกรม ไม่ว่าจะ Inventor หรือ Solidswork หรืออื่นๆทุกๆอย่างขึ้นอยู่กับผู้ใช้นะครับ 
ต่อให้โปรแกรมเทพขนาดไหน หากผู้ใช้ ใช้ไม่เป็น ไม่หัด ไม่ฝึก มันก็ไม่เป็นนะครับ 

  

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผมชอบศึกษาการใช้ Software ทางวิศกรรม ตั้งแต่ตอนเรียน วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยตัวเอง จึงอยากจะเก็บความรู้ ไว้ในบล็อกนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ กับน้องๆที่ต้องการศึกษานะครับ

0 ความคิดเห็น :

General