สำหรับบทความนี้นะครับ จะได้แสดงการโหลด Standrad Part มาใช้ในงานออกแบบ จากที่ผมสงสัยว่า ทำไม Designs Engineering เขาถึงได้เขียนแบบกันเก่งจัง วาดเครื่องต่างๆ พาร์ทต่างๆทุกตัวเลยเหรอ แล้วเขารู้ขนาดต่างๆได้อย่างๆไร พอผมได้มาสัมผัสบ้างก็ถึงกับ อ๋อ......... มันมีพาร์ทมาตรฐาน ให้ใช้ในโปรแกรม หรือจะดาวน์โหลดเอาจากเวป ที่ Support โปรแกรมเขียนแบบต่างๆ หรือตามเวปของผู้ผลิตเลยครับ ในบทความนี้ผมจะทดสอบ Downdload Air cylinder ของ SMC นะครับ
1.เปิดโปรแกรม Inventor ใน Ribbon Tool >> web จะพบ Subpiler content ครับ
2. ก็จะพบกับ LINK สำหรับไปยังเวป Suppiler 3 link นะครับ
ในส่วนนี้ ส่วนใหญ่ผมจะใช้ Link ที่ 1 นะครับ ผมคิดว่ามันใช้งานง่ายดี และมีเยอะด้วยครับ >>>Lnk
3.เมื่อเข้าไปหน้าเวปแล้ว ก็จะมีที่สำหรับสมัครสมาชิกนะครับ อยู่ทางด้านมุมขวาบน
การสมัครสมาชิกจำเป็นต้องกรอกให้ครบนะครับ โดยเฉพาะช่องที่มี *
4.เลือกชื่อ Suppiler ที่เราต้องการนะครับ
เมื่อเราสมัครแล้วก็จะเข้ามายังหน้า Catalog เพื่อเลือกว่าจะ Downdload อะไรนะครับ ในบทความนี้ผมจะโหลด Air cylinder ของ SMC ครับ
5.ทำการเลือกชนิด Air cylinder ครับ
ในบทความนี้ผมเลือก Standard Aircylinder ครับ ซึ่งเป็นกระบอกที่ใช้งานทั่วๆ ไปครับ
6.เลือกโมเดล
ทำการเลือกโมเดลกระบอกสูบในมี่นี้ผมเลือกเป็นแบบ 4 เสารั้งโมเดล MB นะครับ * ควรตรอบสอบจากเวปผู้ผลิต หรือ เซลล์ด้วยนะครับเพราะบางรุ่นไม่มีขายในประเทศไทยต้องใช้เวลาขนส่งเป็นเดือน หรือเลิกผลิตไปแล้วก็มีนะครับ
หลังจากเลือกโมเดล MB แล้ว จะเจอ Model และ accessory ของตัว MB อีกเยอะแยะ ก็เลือกเอาตามที่ต้องการนะครับ
ในที่นี้ผมเลือก MB Standardเป็น Assembly นะครับ ก็จะเป็นไฟล์ประกอบระหว่ากระบอกสูบกับแกนครับ
7.เลือกขนาดกระบอกสูบ Bore Stroke และ accessory ต่างๆ
เมื่อเลือก MB Standard ก็จะให้เลือก Bore อีกที่ครับ
ส่วนด้านข้างก็จะมี Viwe ให้ดูด้วยนะครับ จะดูแบบ 3D หรือจะเป็นแบบ Dimention ก็ได้นะครับ เมื่อเลือก ขนาดกระบอกสูบแล้ว ในที่นี้ผมเลือก Boreขนาด 40 mm
ในหน้านี้ก็สำคัญนะครับเพราะต้องเลือก Cushion , Magnet , Mouting หน้าแปลน , Stroke , POS position ถ้าเป็น Assembly ไม่จำเป็นต้องใส่ระยะก็ได้ครับ เพราะเราสามารถประกอบใน Inventor ได้ ,
ในที่นี้ผมเลือกแบบ ฐานล่างนะครับ Mouting เป็น Rear flange , Stroke 590 (สามารถพิมพ์ค่าลงไปได้เลยนะครับ)
8.Downdload....
เมื่อเลือกในขั้นตอนที่ 7 แล้วจากนั้นก็ กด Generate CAD model
มันก็จะขึ้นหน้าให้ Download นะครับ ส่วนที่ ขีดเส้นได้ผมจะบอก ความหมายให้ฟัง
A_MBB40-590(0)
A = Assembly ครับ
MB = โมเดลของกระบอกครับ
B = Mouting แบบ B Rear flange (จะมีหลายชนิด สามารถดูได้จาก catalog ผู้ผลิตได้ครับ)
40 = ฺBore หน่วยเป็น mm
590 = Stroke หน่วยเป็น mm
(0) = Position
เราสามาถใช้ Code นี้สั่งของหรือสอบถามราคาได้นะครับ แต่ต้องตัด A และ (0) ออกครับ
เช่น MB-B-40-590
เท่านี้เราก็สามารถ ใช้งาน Standard Part ได้แล้วครับ ส่วน Part อื่นๆ ก็ทำในแนวเดียวกันครับ
หลักๆที่ใช้ ผมก็ใช้
Aircylinder = SMC ใช้โมเดล SMC ครับแต่ของจริงก็จะเลือกของ Airtech หรือ Pnema อาศัยเทียบขนาดและหน้า Mouting เอาครับ เพราะราคาถูก และได้ไวกว่าครับ แต่ถ้าลูกค้าต้องการ SMC ก็ต้องใช้ครับ
Catalog SMC
Chain Spocket = KANA
Mechanical Part = MISUMI
ส่วนมอเตอร์ ต้องหาโหลดเอาหน้าเวปผู้ผลิตครับ เช่น SEW
ขอบคุณมากครับพี่
ตอบลบ