วิชานี้จะเป็นวิชาที่ต้องทำทุกคน คนที่ผ่านมาคงรู้ซึ้งถึงพลังงานบางอย่าง ว่าเป็นอย่างไรและหลังจากผมตัดสินใจแยกทางกับโปรเจคเทพ! สกู๊ตเตอร์ไฮบริด
ถึงเวลาที่ผมต้องหาโปรเจคใหม่ ซึ่งต้องทำให้เสร็จภายในเทอม 2 ซึ่งเหลือเวลาอีก ประมาณ6เดือน ประสบการณ์ที่ได้จากโปรเจคไฮบริด ผมจึงมาวิเคราะห์ ปัญหาว่าทำไมไฮบริดมันถึงไม่สำเร็จ และถ้าหากหัวข้อใหม่ จะทำยังไงให้เสร็จ แล้วจบภายในเทอม 2
หรือไม่ผมแนะนำอีกอย่าง คือการต่อยอดโปรเจคเก่าที่รุ่นพี่ทำ เพราะจะทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลใหม่ เพราะกลุ่มเก่าเขาหามาให้เกือบหมดแล้ว เหลือแค่เรามองปัญหาของโปรเจคเดิมนั้นให้ออก แล้วหาทางแก้ไขของเดิม
แต่เราควรมองโปรเจคตัวนั่น เนิ่นๆ แนะนำเลยนะครับ ตั้งแต่กลุ่มที่เราจะไปสานต่อกำลังสร้างควรไปช่วย หรือคลุกคลีกับเขา แล้วเราก็จะรู้โปรเจคนั้นโดยที่ไม่ต้องไปนับหนึ่งเลย .....
อีกอย่างนอกจากหัวข้อแล้วภายในเล่มหัวข้อยังต้องมี วัตถุประสงค์ และ ขอบเขต ซึ่งสองอันนี้ก็สำคัญมาก เพราะอาจารย์ผู้สอบเขาจะดูตรงนี้เป็นหลัก และจะถามและสอบตรงนี้ตลอด ดังนั้นเวลาจะตั้งขอบเขตุของโปรเจค ควรคิดให้ดีก่อน นะครับ
หลังจากที่ผมได้วิเคราะห์ปัญหาผมได้เขียนมาเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1.การเลือกหัวข้อ
สำหรับการเลือกหัวข้อนั้นผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ผมอยากให้น้องๆนักศึกษาที่กำลังทำหรือกำลังจะเริ่มทำนั้น วิเคราะห์ตัวเองให้ดี ว่ามีความสามารถในเรื่องไหน ถนัดในเรื่องได และอีกอย่างก็คือเรื่อง เงิน ไม่ใช่ว่าเลือกหัวข้อเพราะว่า อาจารย์บอกว่าดี ทำได้ หรือหาหัวข้อเองไม่ได้ ก็ควรไปปรึกษาหลายๆ อาจารย์ เพื่อที่จะหลายหัวข้อ และนำแต่ละหัวข้อมาตัดสินใจ ว่าชอบอันไหน ถนัดอะไร ทำแบบนี้จะมีโอกาศ รอดดีที่สุดหรือไม่ผมแนะนำอีกอย่าง คือการต่อยอดโปรเจคเก่าที่รุ่นพี่ทำ เพราะจะทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลใหม่ เพราะกลุ่มเก่าเขาหามาให้เกือบหมดแล้ว เหลือแค่เรามองปัญหาของโปรเจคเดิมนั้นให้ออก แล้วหาทางแก้ไขของเดิม
แต่เราควรมองโปรเจคตัวนั่น เนิ่นๆ แนะนำเลยนะครับ ตั้งแต่กลุ่มที่เราจะไปสานต่อกำลังสร้างควรไปช่วย หรือคลุกคลีกับเขา แล้วเราก็จะรู้โปรเจคนั้นโดยที่ไม่ต้องไปนับหนึ่งเลย .....
อีกอย่างนอกจากหัวข้อแล้วภายในเล่มหัวข้อยังต้องมี วัตถุประสงค์ และ ขอบเขต ซึ่งสองอันนี้ก็สำคัญมาก เพราะอาจารย์ผู้สอบเขาจะดูตรงนี้เป็นหลัก และจะถามและสอบตรงนี้ตลอด ดังนั้นเวลาจะตั้งขอบเขตุของโปรเจค ควรคิดให้ดีก่อน นะครับ
2.บั๊ดดี้(ผู้ร่วมชะตากรรม)
แน่นอนการทำโปรเจคนั้น อาจจะมีการร่วมงานกับเพื่อนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จนถึงกลุ่มใหญ่ๆซึ่งโปรเจคนั้นต้องระดับมหาวิทยาลัย.. หรือไม่ก็อาจจะทำคนเดียวไปเลย ถ้าหากคนเดียว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโปรเจคไม่ค่อยใหญ่ หรือเป็นหัวข้อแนววิเคราะห์ ซึ่งจะใช้การคำนวณ สถิติ ค่อนข้างมาก ไม่ค่อยเหมาะกับสายช่างเท่าไหร่นัก อาจจะเหมาะกับสาย ม.6 ซึ่งเก่งด้านคำนวณกว่า หากเราต้องเลือกบั๊ดดี้นั้นก็ควรเลือกให้ดีนะครับ หาคนที่มีความรับผิดชอบ และต้องหมั่นปรึกษากันให้บ่อยๆเวลามีปัญหา อย่าเก็บไว้คนเดียวครับเพราะมันจะทำให้ อึดอัดมากยิ่งขึ้น แล้วอาจจะขัดแย้งจนทำให้ โปรเจคล่มได้ในที่สุด
3.อาจารย์ที่ปรึกษา
สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษานั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าหากเราได้หัวข้อจากที่ปรึกษาท่านใด เราก็คงต้องเลือกอาจารย์ท่านนั้นเป็นที่ปรึกษาไปโดยปริยายใช่ไหมครับ ก่อนที่จะตกลงปลงใจ ก็ลองสอบถามรุ่นพี่ๆ หรือเพื่อนๆ ก่อนว่าอ.ที่ปรึกษาคนนั้นคนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจ เพราะเราก็ต้องเอาชีวิตของเราไปฝากที่อาจารย์ที่ปรึกษา ไปกว่า 70% เลยผมมั่นใจว่า 70% จริงๆ เพราะหากได้หัวข้อที่ถนัด อ.ที่ปรึกษาดี มีความรู้ตรงกับหัวข้อ รับรองมีชัยไปกว่า ครึ่ง จบ...แน่นอน ... แต่ที่อยากให้ดูก็คือ บางที ทุกอย่างลงตัว แต่อ.ที่ปรึกษา ประชุม อบรม หาตัวอยาก ไม่มีเวลานี้ก็แย่นะครับ หากเจอแบบนี้ก็ต้องคุยกับที่ปรึกษาให้ดีนะครับ เช่นขอตารางเวลาของที่ปรึกษา เพื่อนัดเจอหรือปรึกษา หากทำเองคิดเอง ประสบการณ์ไม่มี ก็มืดเอาง่ายๆเลยนะครับ
นอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว อาจารย์ทุกๆท่าน ก็สามารถให้คำปรึกษาได้ แต่การไปปรึกษานั้นควรปรึกษาแบบศึกษามาก่อนนะครับ อย่าทะเล่อทะล่า เข้าไปถามตรงๆว่า อาจารย์ครับอันนี้ทำอย่างไรครับ ควรเข้าไปถามแบบ อาจารย์ครับ ผมทำอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ควรแก้ไขยังไงครับ ประมาณนี้...
นอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว อาจารย์ทุกๆท่าน ก็สามารถให้คำปรึกษาได้ แต่การไปปรึกษานั้นควรปรึกษาแบบศึกษามาก่อนนะครับ อย่าทะเล่อทะล่า เข้าไปถามตรงๆว่า อาจารย์ครับอันนี้ทำอย่างไรครับ ควรเข้าไปถามแบบ อาจารย์ครับ ผมทำอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ควรแก้ไขยังไงครับ ประมาณนี้...
4.Internet
ยุคนี้สมัยนี้อยากรู้อะไรก็ Google ครับ จะถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุด และหาง่ายที่สุด แต่จะหาเจอไหม นั่นคือปัญหา และส่วนใหญ่ผมขอแนะนำนะครับ ถ้าจะเป็น ทฤษฎี ต่างของให้สืบค้นให้หนังสือในห้องสมุดเอานะครับ เพราะอาจารย์ ส่วนใหญ่เวลาเขาอ่าน เขาจะเน้นอ้างอิงหนังสือ ตำราทางวิศวกรรม ไม่ค่อยชอบสืบค้นแบบ Online แต่หากจำเป็นจริงๆ ก็ควรเป็นเวปที่ได้รับการยอมรับนะครับ ส่วนการค้นหา ผมขอเน้นให้ใช้ภาษาอังกฤษ Search หาเอานะครับ เพราะส่วนใหญ่ผมคิดว่าถ้าเป็นเครื่องจักรต่างๆ เวลาค้นคำว่า เครื่องต่างๆ ก็จะเจอแต่ในประเทศไทย แล้วไอเดียที่เราจะทำก็มีไม่เยอะ แต่หากใช้ภาษาอังกฤษ แล้วจะออกมาให้ดูเยอะมากทั้ง แบบต่างๆ วีดีโอ เพราะเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก
รวมถึงการใช้เวปบอร์ด ต่างๆสอบถามผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราทำโปรเจคก็จะช่วยได้มากนะครับ
5.บัญชีรายรับรายจ่าย
ข้อนี้คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ ทำโปรเจคร่วมกันต้องขาดไม่ได้เป็นอันขาด ทั้งบิล และบันชีนะครับ เพราะเรื่องเงินเรื่องทอง มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยิ่งแบบก็ยังไม่มี แถมไม่เคยทำ BOQ มีแต่คอนเซปในหัว ค่อยๆแก้เอาหน้างาน สร้างก่อนแล้วค่อยเก็บ Drawing ทีหลัง งบนี้ประเมินไม่ได้ บานแน่นอนครับ ส่วนใครมีเงินถุงเงินถังก็สบายไปหน่อย . . .6.เวลา
เรื่องเวลา มันเป็นเรื่องสำคัญอยู่แล้ว เพราะการลงเรียนวิชาโปรเจคจะใช้เวลา 1 เทอม เท่ากับเรียนวิชาอื่นๆ แต่นักศึกษาไกล้จบอย่างเราๆ ไม่เคยทำงานมาก่อน ดังนั้นหากจะให้เสร็จภารกิจภายใน 1 เทอมคงจะยากสักหน่อย ดังนั้น วิชานี้ควรเริ่มศึกษา หาหัวข้อ หาข้อมูลตั้งแต่เนิ่นๆ พอถึงเวลาแล้วค่อยลง วิชาโปรเจค เพราะวิชานี้จะมีกฎกติกามากมาย แค่ทำเรื่องต่างๆ หาอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการ เพื่อที่จะเซ็นแล้ว แต่ละคนยังกับนินจา หาตัวอยากจริงๆ เสียเวลาตรงนี้ไปเยอะเหมือนกันนะครับ ดังนั้นอย่างที่บอกในหัวข้ออาจารย์ที่ปรึกษา ควรหาตารางสอนจริงๆ ของทุกๆท่าน เบอร์โทร (ควรสอบถามก่อนว่าท่านสะดวกไหม)
ผมแนะนำว่าหากลงวิชานี้ ต้องมีเวลาให้กับมันจริงๆ ไม่ใช่ว่าเรียนเต็มคาบ จ-ศ แต่ยังดันลงโปรเจคอีก ผมรับรองว่าไม่ทันแน่นอนครับ อย่างๆน้อยๆควรจะมีเวลาให้กับวิชาโปรเจคนี้ 3 วันต่อสัปดาห์ครับ
7.ทักษะการเขียนแบบ และการเป็นช่าง
อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้กันนะครับ เพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกหัวข้อที่มีการสร้างต้องมีการคำนวณ ออกแบบ เขียนแบบ ในทุกเล่ม ดังนั้นภายในกลุ่มต้องมีคนเขียนแบบเป็นอย่างน้อย 1 คน และควรมีฝีมือใช้เครื่องมือช่างเป็นด้วยเช่น เชื่อม กลึง มิลลิ่ง หากไม่เป็นก็ต้องหัดเอานะครับ
ในส่วนตัวผมคิดว่าหากทำครบและมีทั้ง 7 ข้อนี้แล้ววิชาโปรเจคก็คงไม่ไกลเกินที่เราจะข้ามไปได้นะครับ และในส่วนวัตถุประสงค์หากไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ เราก็ควรหาข้อมูลมาอธิบายว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ และจะมีแนวทางแก้ไขได้อย่างไร สรุปได้แบบนี้ หากทำโปรเจคไม่สำเร็จก็ผ่านได้นะครับ (แต่ส่วนใหญ่ผมไม่ค่อยเห็นนะครับ )
ในบทความนี้ผมหวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อน้องที่ทำโปรเจคทุกคนนะครับ หากมีอะไรที่ผมช่วยได้ หรือต้องการสอบถามอะไร ก็ส่ง E-mail หรือ ส่งข้อความมาทาง Facebook ได้นะครับหากช่วยได้ผมยินดีครับ
ยินดีครับ ถ้าหากมันบทความจากประสบการณ์ของผม จะแนะนำคนอื่นได้
ตอบลบ