Adsense




วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

โปรเจคจบหัวข้อที่ 2 Designs by Autodesk Inventor and Autodesk Simulation CFD 2013

Sarawut  |  at   23:37  |   |  No comments

        หลังจากได้วิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมทำโปรเจคไม่ไปข้างหน้าเสียที >>>> โปรเจค โปรเจ๊ง
ผมจึงเลือกหัวข้อที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว แต่แค่เปลี่ยนโปรดักส์ ในการใช้อบ และออกแบบให้ดูดีกว่าเดิม
โปรเจคอันเก่าชื่อว่า " เครื่องอบแห้งมันฝรั่งด้วยแก๊สอินฟาเรด " ผมก็เลยทำแนวเดียวกัน เลยไปหาโปรดักส์ที่ต้องการเครื่องอบ จนได้ไปเจอที่แม่แตง คือ ใบเชียงดา ซึ่งได้ทำเป็นธุรกิจ ชาเชียงดา แต่ที่นี้ได้แต่ใช้แสงแดด ในการอบแห้งทำให้มีปัญหา ต่างๆในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิในการอบแห้งไม่สามารถควบคุมได้ และสีที่ได้จากการตากแห้งไม่ค่อยสวย.... 
       ซึ่งหัวข้อนี้ทำสำเร็จได้แน่นอน เพราะเครื่องอบแห้งมีขายทั่วไป แต่ไม่มีที่ไหนเคยทดลองอบแห้งผักเชียงดา ผมจึงได้ตัดสินใจเลือกหัวข้อ อบแห้งผักเชียงดา ส่วนเนื้อหาก็คล้ายๆกับการอบแห้งมันฝรัง ไม่ต้องเสียเวลาไปหาอีก  มาดูเวอร์ชั่น 1 ของเครื่องกันนะครับ เวอร์ชั่นนี้สอบหัวข้อไม่ผ่านเพราะ "อาจารย์ ถามว่าแล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าลมจะเข้าไปในห้องอบแห้งได้อย่างทั่วถึง....และอยากให้เห็นภาพการเคลื่อนที่ ของลมที่เข้าไปในห้องอบแห้ง" ได้ยินคำนี้เข้าไปผมถึงกับอึ้ง.... อ่าวแล้วไอ่กลุ่มอบแห้งมันฝรั่งที่สอบผ่านไปมันตอบว่าไงเนี่ย....
       จากเวอร์ชั่นแรกที่ผมออกแบบผมก็ไปดูๆแบบใน Internet แล้วมาเขียนใหม่ได้ดังรูปด้านล่างนี้แหละครับ 



     ซึ่งหัวใจของการทำเครื่องอบแห้งง่ายๆคือ เอาโปรดักส์เข้าไปแล้ว ให้ความร้อน เพื่อลดความชื้นในตัว โปรดักส์ ส่วนใหญ่จะให้เหลือประมาณ 5-10% มาตรฐานแห้ง* (อันนี้เป็นศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการอบแห้งครับ) และต้องแห้งทั่วกันๆทุกชั้นวางถึงจะดี แต่ความเป็นจริงแล้วมันทำยากอยู่เหมือนกัน หากจะทำได้เครื่องจะต้องใหญ่มาก และใช้พื้นที่เยอะมาก 
     แต่เครื่องอบแห้งที่ขายๆกันทั่วไปส่วนใหญ่ก็รูปทรง สี่เหลี่ยมตั้งๆ นี้แหละครับ แต่ขนาดไม่ค่อยใหญ่ แคบๆ ทำให้อบได้นิดเดียว 
     จากในแบบนะครับหากสร้างจริงๆผมก็คงคิดว่ามันคงไม่แห้งทั่วๆกันแน่ๆ ดังนั้นผมจึงกลับไปออกแบบใหม่ พร้อมทั้งหาวิธีที่จะแสดงให้อาจารย์ดูว่า การกระจายลมเข้าไปในห้องอบแห้งของเครื่องที่ผมออกแบบมันกระจายได้เท่าๆกัน โดยก็ต้องพึ่งโปรแกรม CFD แต่เครื่อง V.2 เป็นอย่างไร ก็ติดตามไปกับบทความหน้านะครับ 

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผมชอบศึกษาการใช้ Software ทางวิศกรรม ตั้งแต่ตอนเรียน วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยตัวเอง จึงอยากจะเก็บความรู้ ไว้ในบล็อกนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ กับน้องๆที่ต้องการศึกษานะครับ

0 ความคิดเห็น :

General