หลังจากเข้าสอบหัวข้อ ปรีโปรเจค ครั้งแรก ไม่ผ่าน โดนคอมเม้นว่า จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเครื่องของคุณออกแบบการกระจายลม ได้ดี เท่ากันทุกชั้น ผมจึงได้กลับไปออกแบบใหม่ แล้วลอง จำลองความเร็วลมด้วยโปรแกรม CFD ด้วยเพื่อให้การ พรีเซนต์เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้สอบหัวข้อผ่านแล้ว จะได้ทำๆจบๆกันสักที ฮ่าๆ
ในการใช้โปรแกรม CFD นั้นต้องสร้างโมเดล จากโปรแกรม Inventor ก่อนถึงจะสามารถไป simulate ใน CFD
ในการสร้งโมเดลนั้นควรลดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นต่อการทดสอบออก เพื่อที่การประมวลผลจะได้ไวขึ้น จากนั้นก็กำหนดค่า ต่างๆ เช่น Material , Boundary ต่างๆ ที่จะ simulate จากนั้นก็ทำการทดสอบ
จากรูปเครื่องของผม ลมจะเข้าล่างทั้งช้ายและขวา แล้วผ่านแต่ละชั้นพร้อมกัน สุดท้ายปล่อยออกด้านบนส่วนที่เป็นสีแดงจะเป็นความเร็วที่สูง ส่วนถาดวางจะมี 18 ถาด 9 ชั้น นี้คือผลงานนำเสนอ
ตอนสอบหัวข้อ ซึ่งก็สามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้ดี ในระดับหนึ่ง ก็เลยผ่าน แล้วก็ได้ทำครับส่วนด้านล่างคือรูปเต็มๆ ที่ได้ออกแบบและสร้างครับ
หลังสร้างเสร็จ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการทดสอบ ว่าได้ผลตามที่ออกแบบไหม จากที่ผมได้ทดสอบนั้นผลก็มีความไกล้เคียงกันพอสมควร แต่งานประกอบ งานเชื่อม ต่างๆย่อมไม่ได้ขนาดตามแบบเท่าไหร่ จึงทำให้คลาดเคลื่อนจากที่ได้ออกแบบ ไปบ้างแต่ก็พอแก้ไขและ รับได้ ในปัจจุบันผมว่าการนำเสนอ มีส่วนสำคัญมากๆ หายากมากครับตอนนี้ที่จะนั่งเอาแบบ 2D มาคุยกัน คนจ้างก็ดูไม่ค่อยออก อย่าว่าแต่เครื่องกลเลยครับ ขนาดบ้าน ตึก คอนโด ก็ต้องพรีเซนต์เป็น 3D เพื่อเห็นภาพ กันหมดแล้ว ยุคสมัยมันเปลี่ยนคนเราก็ต้องเปลี่ยนการทำงาน กันบ้างนะครับ
สุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกว่า วิชาโปรเจคที่ผมผ่ามมาได้นี้เพราะ วิชาเขียนแบบ และการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม การเข้าหาอาจารย์ และการวางแผน หากทำไปเรื่อยๆ ไม่มีเป้าหมาย ผมว่ายากนะครับกว่ามันจะจบ มันก็เหมือนหนังสือหลายๆเล่มว่าจงกำหนดเป้าหมายในชีวิต แล้วก็วางแผนให้ไปถึงเป้าหมาย อยากให้น้องที่กำลังทำโปรเจคจบหรืออะไรก็แล้วแต่ลองขีดๆเขียนลงในกระดาษ A4 เล่นๆดูก็ได้นะครับ บางทีการเขียนแบบที่ผมกล่าวอาจจะทำให้เราเห็นตัวเรามากขึ้น ว่าเราต้องการอะไร ครับ
0 ความคิดเห็น :