Adsense




วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

แนะนำหนังสือ คู่กายในการออกแบบ เครื่องกล!!!


    แนะนำหนังสือ คู่กายในการออกแบบ เครื่องกล!!! 

ไม่ว่าจะเป็นนายช่าง วิศวกร ช่างเทคนิค หรือแม้แต่ ครู และนักเรียนสายเครื่องจักรกล ทั้งหลาย ไม่ใช้ว่าจะก้าวมาเป็นกันได้ง่ายๆ (ในส่วนตัวผมคิดอย่างนี้นะครับ) ต้องเรียน ต้องฝึก ห่ำหั่น กันมาเป็นแรมปี ผมอยากจะแนะนำหนังสือคู่กาย สายเครื่องจักรกล เลยนะครับ ว่าต้องเล่มมีเล่มนี้ ติดตัวไว้เพื่อเป็นตำราอ้างอิง
     ส่วนคนที่มีแล้วผมเชื่อว่ามันคงเป็น ตำราคู่ใจแน่ๆ ในส่วนตัวผมเพิ่งมาเจอ เล่มนี้ตอน เริ่มทำงานได้ปีแรก ยังบอกตัวเองเลยว่า เราพลาดไปแล้วที่เพิ่งมารู้จักหนังสือเล่มนี้ หากรู้จักตั้งแต่เมื่อก่อนนะ ทั้งเกรดเฉลี่ย และ ฝีมืองานช่างผมมีเยอะกว่านี้แน่นอน!!
     เป็นไงละ!! จั่วหัวซะจนอยากรู้เลยใช่ไหมว่า มันคือหนังสืออะไร  เล่มนี้ก็คือ !!!!!!!!!!

                                 "ตารางคู่มืองานโลหะ"




   ที่แปลและเรียบเรียงโดย
 รศ.บรรเลง ศรนิล และ รศ.สมนึก วัฒนศรียกุล ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
    แค่ชื่อตอนแรกผมก็มองข้ามแล้วครับ ไม่เห็นจะเกี่ยวกับงานเครื่องกลเท่าไหร่ คงเป็นของพวกช่างโลหะนู้นมั้ง... แต่แล้ววันหนึ่ง ผมก็หยิบมันขึ้นมาอ่าน แล้วถึงกับต้อง สตั๊นไป 5 วิ!!! นี้ถ้าไม่เปิดอ่านนี้พลาดจริงๆนะนี้ ..... 
    ประวัติ (ผมก็เขียนมาจากคำนำนะครับ)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้ซื้อ ลิขสิทธิ์ จาก Verlag Europa-Lehrmittel. Nourney, Vollmer GmbH & Co. KG สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี ให้แปลเป็นไทย แค่ชื่อประเทศ ก็บ่งบอกถึงคุณภาพด้านเครื่องกลแล้วนะครับ 555 

   ในคู่มืองานโลหะ มีอยู่ทั้งหมด 7 บท ซึ่งแต่ละบทบอกตรงๆเลยว่าครบจริงๆ.  ทั้งสูตร ตานราง และคำแนะนำต่างๆ  
 แต่ในหนังสือเขาบอกเป็นภาคนะครับ 

ภาค M คณิตศาตร์ มีหมดเลยครับตั้งแต่พื้นฐาน รวมถึงสูตรต่างๆ 

ภาค P ฟิสิกส์เทคนิค  รวมหมดเลยครับทั้ง กลศาสตร์ ความแข็งแรงของวัสดุ เทอร์โม ไฟฟ้า เคมี

ภาค K การสื่อสารทางเทคนิค   มีตั้งแต่เทคนิคการสร้างรูปทรงเลขา ด้วยมือ หรือเขียนแบบสมัยตั้งโต๊ะ รวมถึงมาตรฐาน ในการเขียนแบบ การกำหนดความแข็งของผิวงาน พิกัดเผื่องานสวม  


ภาค W ก็คือเทคนิคด้านวัสดุ จะบอกถึงเทคนิคการใช้งานการขึ้นรูปและการใช้งานวัสดุต่างๆให้เหมาสม รวมถึงตารางค่าต่างๆ ที่ใช้ในการอ้างอิง 

ภาค N ชิ้นส่วนมาตรฐาน  ก็เป็นพวกชิ้นส่วมาตรฐานต่างๆ มากมาย เช่นเกลียว สลัก ชิ้นส่วมมาตรฐานสำหรับจิ๊ก และเครื่องมือตัด เทคนิคการส่งกำลัง ก็คือพวก แบริ่งต่างๆ สายพาน 

ภาค F เทคนิคการผลิต จะมีการบริการคุณภาพและการวางแผนการผลิต การคำนวฯต่างๆเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของเครื่องจักร เช่น อัตราทด ความเร็วรอบต่างๆ  รวมถึงการขึ้นรูป การเชื่อม บัดกรี

ภาค A ระบบอัตโนมัติ และเทคโนโลยีสาระสนเทศ  ก็มีทั้งคำศัพท์พื้นฐาน วงจรอิเล็กทรอนิกส์ นิวเมติกและไฮดรอลิกส์ PLC NC 


      หุๆ เห็นไหมละครับ มันช่างคุ้มค่ากับการซื้อมาครอบครองเสียจริงๆเลย  ราคาก็ประมาณ 350 บาท ลดค่าเหล้าลงสักนิด ก็ได้แล้ว ฮ่าๆ ก็ขอแนะนำไว้เป็นตำราคู่กายนักออกแบบ เครื่องกลหรือนายช่างทุกท่านนะครับ
สุดท้ายนี้ ผมมิได้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหนังสือเล่มนี้นะครับ แค่อยากแนะนำคนที่ทำงานหรือเรียนทางด้านสายเครื่องจักรเท่านั้นเอง  


การเขียนแบบสำคัญอย่างไร ในการเรียนวิศวกรรม

เกี่ยวกับผู้เขียน

ผมชอบศึกษาการใช้ Software ทางวิศกรรม ตั้งแต่ตอนเรียน วิศวกรรมเครื่องกล ด้วยตัวเอง จึงอยากจะเก็บความรู้ ไว้ในบล็อกนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ กับน้องๆที่ต้องการศึกษานะครับ

0 ความคิดเห็น :

General