Adsense




บทความล่าสุด

วันเสาร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2557

    
   สำหรับบทความนี้นะครับ จะได้แสดงการโหลด Standrad Part มาใช้ในงานออกแบบ จากที่ผมสงสัยว่า ทำไม Designs Engineering เขาถึงได้เขียนแบบกันเก่งจัง วาดเครื่องต่างๆ พาร์ทต่างๆทุกตัวเลยเหรอ แล้วเขารู้ขนาดต่างๆได้อย่างๆไร พอผมได้มาสัมผัสบ้างก็ถึงกับ อ๋อ......... มันมีพาร์ทมาตรฐาน ให้ใช้ในโปรแกรม หรือจะดาวน์โหลดเอาจากเวป ที่ Support โปรแกรมเขียนแบบต่างๆ หรือตามเวปของผู้ผลิตเลยครับ ในบทความนี้ผมจะทดสอบ Downdload Air cylinder ของ SMC นะครับ

    1.เปิดโปรแกรม Inventor ใน Ribbon Tool >> web จะพบ Subpiler content ครับ


  2. ก็จะพบกับ LINK สำหรับไปยังเวป Suppiler 3 link นะครับ 


ในส่วนนี้ ส่วนใหญ่ผมจะใช้ Link ที่ 1 นะครับ ผมคิดว่ามันใช้งานง่ายดี และมีเยอะด้วยครับ  >>>Lnk 

 3.เมื่อเข้าไปหน้าเวปแล้ว ก็จะมีที่สำหรับสมัครสมาชิกนะครับ อยู่ทางด้านมุมขวาบน 




การสมัครสมาชิกจำเป็นต้องกรอกให้ครบนะครับ โดยเฉพาะช่องที่มี * 

 4.เลือกชื่อ Suppiler ที่เราต้องการนะครับ


  เมื่อเราสมัครแล้วก็จะเข้ามายังหน้า Catalog เพื่อเลือกว่าจะ Downdload อะไรนะครับ ในบทความนี้ผมจะโหลด Air cylinder ของ SMC ครับ

5.ทำการเลือกชนิด Air cylinder ครับ



ในบทความนี้ผมเลือก Standard Aircylinder ครับ ซึ่งเป็นกระบอกที่ใช้งานทั่วๆ ไปครับ

6.เลือกโมเดล


   ทำการเลือกโมเดลกระบอกสูบในมี่นี้ผมเลือกเป็นแบบ 4 เสารั้งโมเดล MB นะครับ * ควรตรอบสอบจากเวปผู้ผลิต หรือ เซลล์ด้วยนะครับเพราะบางรุ่นไม่มีขายในประเทศไทยต้องใช้เวลาขนส่งเป็นเดือน หรือเลิกผลิตไปแล้วก็มีนะครับ

หลังจากเลือกโมเดล MB แล้ว จะเจอ Model และ accessory ของตัว MB อีกเยอะแยะ ก็เลือกเอาตามที่ต้องการนะครับ 

    ในที่นี้ผมเลือก MB Standardเป็น Assembly นะครับ ก็จะเป็นไฟล์ประกอบระหว่ากระบอกสูบกับแกนครับ

 7.เลือกขนาดกระบอกสูบ Bore Stroke และ accessory ต่างๆ 

     เมื่อเลือก MB Standard ก็จะให้เลือก Bore อีกที่ครับ


   ส่วนด้านข้างก็จะมี Viwe ให้ดูด้วยนะครับ จะดูแบบ  3D หรือจะเป็นแบบ Dimention ก็ได้นะครับ เมื่อเลือก ขนาดกระบอกสูบแล้ว ในที่นี้ผมเลือก Boreขนาด 40 mm 

ในหน้านี้ก็สำคัญนะครับเพราะต้องเลือก Cushion , Magnet , Mouting หน้าแปลน , Stroke , POS position ถ้าเป็น Assembly ไม่จำเป็นต้องใส่ระยะก็ได้ครับ เพราะเราสามารถประกอบใน Inventor ได้ ,
   
   ในที่นี้ผมเลือกแบบ ฐานล่างนะครับ Mouting เป็น Rear flange , Stroke 590 (สามารถพิมพ์ค่าลงไปได้เลยนะครับ) 

8.Downdload....







  เมื่อเลือกในขั้นตอนที่ 7 แล้วจากนั้นก็ กด Generate CAD model 
มันก็จะขึ้นหน้าให้ Download นะครับ ส่วนที่ ขีดเส้นได้ผมจะบอก ความหมายให้ฟัง
A_MBB40-590(0)   
A = Assembly ครับ
MB = โมเดลของกระบอกครับ
B = Mouting แบบ B Rear flange (จะมีหลายชนิด สามารถดูได้จาก catalog ผู้ผลิตได้ครับ)
40 = ฺBore หน่วยเป็น mm 
590  = Stroke หน่วยเป็น mm
(0) = Position 

เราสามาถใช้ Code นี้สั่งของหรือสอบถามราคาได้นะครับ แต่ต้องตัด A และ (0) ออกครับ 
เช่น MB-B-40-590 
เท่านี้เราก็สามารถ ใช้งาน Standard Part ได้แล้วครับ ส่วน Part อื่นๆ ก็ทำในแนวเดียวกันครับ

หลักๆที่ใช้ ผมก็ใช้

Aircylinder = SMC ใช้โมเดล SMC ครับแต่ของจริงก็จะเลือกของ Airtech หรือ Pnema อาศัยเทียบขนาดและหน้า Mouting เอาครับ เพราะราคาถูก และได้ไวกว่าครับ แต่ถ้าลูกค้าต้องการ SMC ก็ต้องใช้ครับ
Catalog SMC
Chain Spocket = KANA 

Mechanical Part = MISUMI 

ส่วนมอเตอร์ ต้องหาโหลดเอาหน้าเวปผู้ผลิตครับ เช่น SEW 







Tutorial

การดาวน์โหลด Standard Part (พาร์ทมาตรฐาน)

Sarawut  |  at   14:38

    
   สำหรับบทความนี้นะครับ จะได้แสดงการโหลด Standrad Part มาใช้ในงานออกแบบ จากที่ผมสงสัยว่า ทำไม Designs Engineering เขาถึงได้เขียนแบบกันเก่งจัง วาดเครื่องต่างๆ พาร์ทต่างๆทุกตัวเลยเหรอ แล้วเขารู้ขนาดต่างๆได้อย่างๆไร พอผมได้มาสัมผัสบ้างก็ถึงกับ อ๋อ......... มันมีพาร์ทมาตรฐาน ให้ใช้ในโปรแกรม หรือจะดาวน์โหลดเอาจากเวป ที่ Support โปรแกรมเขียนแบบต่างๆ หรือตามเวปของผู้ผลิตเลยครับ ในบทความนี้ผมจะทดสอบ Downdload Air cylinder ของ SMC นะครับ

    1.เปิดโปรแกรม Inventor ใน Ribbon Tool >> web จะพบ Subpiler content ครับ


  2. ก็จะพบกับ LINK สำหรับไปยังเวป Suppiler 3 link นะครับ 


ในส่วนนี้ ส่วนใหญ่ผมจะใช้ Link ที่ 1 นะครับ ผมคิดว่ามันใช้งานง่ายดี และมีเยอะด้วยครับ  >>>Lnk 

 3.เมื่อเข้าไปหน้าเวปแล้ว ก็จะมีที่สำหรับสมัครสมาชิกนะครับ อยู่ทางด้านมุมขวาบน 




การสมัครสมาชิกจำเป็นต้องกรอกให้ครบนะครับ โดยเฉพาะช่องที่มี * 

 4.เลือกชื่อ Suppiler ที่เราต้องการนะครับ


  เมื่อเราสมัครแล้วก็จะเข้ามายังหน้า Catalog เพื่อเลือกว่าจะ Downdload อะไรนะครับ ในบทความนี้ผมจะโหลด Air cylinder ของ SMC ครับ

5.ทำการเลือกชนิด Air cylinder ครับ



ในบทความนี้ผมเลือก Standard Aircylinder ครับ ซึ่งเป็นกระบอกที่ใช้งานทั่วๆ ไปครับ

6.เลือกโมเดล


   ทำการเลือกโมเดลกระบอกสูบในมี่นี้ผมเลือกเป็นแบบ 4 เสารั้งโมเดล MB นะครับ * ควรตรอบสอบจากเวปผู้ผลิต หรือ เซลล์ด้วยนะครับเพราะบางรุ่นไม่มีขายในประเทศไทยต้องใช้เวลาขนส่งเป็นเดือน หรือเลิกผลิตไปแล้วก็มีนะครับ

หลังจากเลือกโมเดล MB แล้ว จะเจอ Model และ accessory ของตัว MB อีกเยอะแยะ ก็เลือกเอาตามที่ต้องการนะครับ 

    ในที่นี้ผมเลือก MB Standardเป็น Assembly นะครับ ก็จะเป็นไฟล์ประกอบระหว่ากระบอกสูบกับแกนครับ

 7.เลือกขนาดกระบอกสูบ Bore Stroke และ accessory ต่างๆ 

     เมื่อเลือก MB Standard ก็จะให้เลือก Bore อีกที่ครับ


   ส่วนด้านข้างก็จะมี Viwe ให้ดูด้วยนะครับ จะดูแบบ  3D หรือจะเป็นแบบ Dimention ก็ได้นะครับ เมื่อเลือก ขนาดกระบอกสูบแล้ว ในที่นี้ผมเลือก Boreขนาด 40 mm 

ในหน้านี้ก็สำคัญนะครับเพราะต้องเลือก Cushion , Magnet , Mouting หน้าแปลน , Stroke , POS position ถ้าเป็น Assembly ไม่จำเป็นต้องใส่ระยะก็ได้ครับ เพราะเราสามารถประกอบใน Inventor ได้ ,
   
   ในที่นี้ผมเลือกแบบ ฐานล่างนะครับ Mouting เป็น Rear flange , Stroke 590 (สามารถพิมพ์ค่าลงไปได้เลยนะครับ) 

8.Downdload....







  เมื่อเลือกในขั้นตอนที่ 7 แล้วจากนั้นก็ กด Generate CAD model 
มันก็จะขึ้นหน้าให้ Download นะครับ ส่วนที่ ขีดเส้นได้ผมจะบอก ความหมายให้ฟัง
A_MBB40-590(0)   
A = Assembly ครับ
MB = โมเดลของกระบอกครับ
B = Mouting แบบ B Rear flange (จะมีหลายชนิด สามารถดูได้จาก catalog ผู้ผลิตได้ครับ)
40 = ฺBore หน่วยเป็น mm 
590  = Stroke หน่วยเป็น mm
(0) = Position 

เราสามาถใช้ Code นี้สั่งของหรือสอบถามราคาได้นะครับ แต่ต้องตัด A และ (0) ออกครับ 
เช่น MB-B-40-590 
เท่านี้เราก็สามารถ ใช้งาน Standard Part ได้แล้วครับ ส่วน Part อื่นๆ ก็ทำในแนวเดียวกันครับ

หลักๆที่ใช้ ผมก็ใช้

Aircylinder = SMC ใช้โมเดล SMC ครับแต่ของจริงก็จะเลือกของ Airtech หรือ Pnema อาศัยเทียบขนาดและหน้า Mouting เอาครับ เพราะราคาถูก และได้ไวกว่าครับ แต่ถ้าลูกค้าต้องการ SMC ก็ต้องใช้ครับ
Catalog SMC
Chain Spocket = KANA 

Mechanical Part = MISUMI 

ส่วนมอเตอร์ ต้องหาโหลดเอาหน้าเวปผู้ผลิตครับ เช่น SEW 







1 ความคิดเห็น :

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557

   
   หลังจากที่เครื่องแรก  Lift Support 2Cart 500 kg ส่งไป ใช้งานได้ดี ทางบริษัทที่จ้างก็ติดต่อมาอีกครั้ง คราวนี้ต้องการยกแค่ Cart เดียว แต่มี 2 ฝั่งซ้ายขวา เลยเรียกผมเข้าไปพบ .... ก็รู้สึกดีใจนะครับ ที่งานเราสามารถขายได้ ใช้ได้จริง แล้วเขายังสั่งหลายตัวด้วย ฮ่าๆ
   เข้าไปก็ ไปพูดคุย เงื่อนไขเหมือนเดิมแล้วก็กลับไปเขียนแบบมาให้เขาดู มันก็ทำแบบครั้งแรก วนๆ กันไป คุยคอนเซ็ปต์ >> ออกแแบบ >> ทำราคา >> ถ้าตกลงกันได้ก็ว่าจ้าง กันไป ส่วนโปรเจคนี้ผมเป็นคนรับผิดชอบในเรื่องการติดต่อ ออกแบบ ทำราคา สั่งของ เองทั้งหมดเพราะว่า เคยทำมาแล้วครั้งหนึ่งตอนโปรเจคแรก ก็คล้ายๆ กันเลยสบายหน่อย ระบบนิวเมติก ก็พัฒนา จากโปรเจคเก่าครับ

   ด้านล่างก็จะเป็นแแบบ ที่ผมได้ออกแบบนะครับ โดนคอนเซ็ปต์ที่ไปคุยนั้น ก็มีรายละเอียดคือ

   1.ความกว้างของเครื่อง ต้องไม่เกิน 600 mm
   2.ต้องยก Cart 1 คัน น้ำหนัก 250 kg
   3.ปรับปรุงเรื่อง ระบบ Mechanical safety  และ Pnumatic safety






     สรุปงานนี้ได้ทำทั้งหมด 12 ตัวนะครับ (6คู่ ซ้ายขวา) แบ่งทำแบ่งส่งเป็น 2 Set เซ็ท ละ 3 คู่ พอส่งงานผมกับช่างก็เข้าไปติดตั้ง ในโรงงาน ครับ ส่วนรูปไม่รู้ผมเก็บเอาไว้ไหนหมด เดี๋ยวหาเจอผมจะเอาลงเพื่อให้เห็นรายละเอียดเยอะๆนะครับ 
        
     สำหรับโปรแกรมออกแบบ ระบบ Pnumatic นี้ เป็นโปรแกรม ชื่อ Festo fuid sim ครับ มีให้ใช้ทั้ง Pnumetic และ Hydrulic ครับ เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งนะครับที่มีประโยชน์ น้องๆที่เรียน เรื่อง Pnumetic และ Hydrulic  สามรถนำไปใช้ได้นะครับ เพราะ สามารถออกแบบวงจร และจำลองการทำงานได้ครับ 



Work By Inventor

โปรเจค Lift อันเดิมแต่เวอร์ชั่นใหม่ Lift Support Cart 250 kg

Sarawut  |  at   14:14

   
   หลังจากที่เครื่องแรก  Lift Support 2Cart 500 kg ส่งไป ใช้งานได้ดี ทางบริษัทที่จ้างก็ติดต่อมาอีกครั้ง คราวนี้ต้องการยกแค่ Cart เดียว แต่มี 2 ฝั่งซ้ายขวา เลยเรียกผมเข้าไปพบ .... ก็รู้สึกดีใจนะครับ ที่งานเราสามารถขายได้ ใช้ได้จริง แล้วเขายังสั่งหลายตัวด้วย ฮ่าๆ
   เข้าไปก็ ไปพูดคุย เงื่อนไขเหมือนเดิมแล้วก็กลับไปเขียนแบบมาให้เขาดู มันก็ทำแบบครั้งแรก วนๆ กันไป คุยคอนเซ็ปต์ >> ออกแแบบ >> ทำราคา >> ถ้าตกลงกันได้ก็ว่าจ้าง กันไป ส่วนโปรเจคนี้ผมเป็นคนรับผิดชอบในเรื่องการติดต่อ ออกแบบ ทำราคา สั่งของ เองทั้งหมดเพราะว่า เคยทำมาแล้วครั้งหนึ่งตอนโปรเจคแรก ก็คล้ายๆ กันเลยสบายหน่อย ระบบนิวเมติก ก็พัฒนา จากโปรเจคเก่าครับ

   ด้านล่างก็จะเป็นแแบบ ที่ผมได้ออกแบบนะครับ โดนคอนเซ็ปต์ที่ไปคุยนั้น ก็มีรายละเอียดคือ

   1.ความกว้างของเครื่อง ต้องไม่เกิน 600 mm
   2.ต้องยก Cart 1 คัน น้ำหนัก 250 kg
   3.ปรับปรุงเรื่อง ระบบ Mechanical safety  และ Pnumatic safety






     สรุปงานนี้ได้ทำทั้งหมด 12 ตัวนะครับ (6คู่ ซ้ายขวา) แบ่งทำแบ่งส่งเป็น 2 Set เซ็ท ละ 3 คู่ พอส่งงานผมกับช่างก็เข้าไปติดตั้ง ในโรงงาน ครับ ส่วนรูปไม่รู้ผมเก็บเอาไว้ไหนหมด เดี๋ยวหาเจอผมจะเอาลงเพื่อให้เห็นรายละเอียดเยอะๆนะครับ 
        
     สำหรับโปรแกรมออกแบบ ระบบ Pnumatic นี้ เป็นโปรแกรม ชื่อ Festo fuid sim ครับ มีให้ใช้ทั้ง Pnumetic และ Hydrulic ครับ เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งนะครับที่มีประโยชน์ น้องๆที่เรียน เรื่อง Pnumetic และ Hydrulic  สามรถนำไปใช้ได้นะครับ เพราะ สามารถออกแบบวงจร และจำลองการทำงานได้ครับ 



0 ความคิดเห็น :

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2557

      
   เมื่อผมไปถึงระยอง ตอนเย็นพี่ที่จะจ้างผมก็โทรมา บอกว่าพรุ่งนี้เช้าเข้าไปดูงานหน่อย มีโปรเจคให้ทำ แบบว่ามาถึงก็ลุยเลย แล้วก็ได้เวลา ผมกับลูกพี่ก็เข้าไปหา Engineer โรงงาน แถว GK อุตสาหกรรม ในนี้ผมคิดว่ามีแค่ Kawazaki และ บริษัท ในเครือเท่านั่นแหละ เพราะเห็นเท่านี้จริงๆ งานที่ทำก็เป็นแนว Make to order หรือตามใจผู้สั่งนะครับ ไปถึงก็ดูหน้างาน ว่าต้องการอะไรแบบ ไหนในโปรเจคนี้ เขาต้องการให้รถเข็นที่มีน้ำหนักรวม 250 kg 2 คัน ยกขึ้น 1 เมตร แล้วกำหนดความกว้าง และยาวของเครื่องให้เราไปออกแบบ  แล้วทำราคามา หากแบบโอเค ราคาโอเค ก็ตกลง เปิด P.O ดูเหมือนจะง่ายๆนะครับ แต่การทำงาน สร้างเครื่องจักรให้โรงงาน สิ่งสำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งการออกแบบโปรเจคนี้ คอนเซป ก็ประมาณ Hand lift ที่มีขายทั่วไปนะครับ ประมาณ 28000-30000 บาท
 แต่จะใช่ Pnumetic มาเป็นต้นกำลัง  คือประมาณว่า ต่อลมเข้าแล้วใช้งานได้เลย ครับ ราคาเครื่องก็ประมาณ 70000-80000 บาท 




       จะเห็นได้นะครับว่าคอนเซปคล้ายๆกัน แต่จะมี Guard มีประตู และระบบ Mechanical Lock ป้องกันกรณีมันร่วงลง ด้วย เมื่อแบบโอเค ราคาโอเค ตัวนี้ก็ได้ทำ ทำเสร็จ ก็ต้องมีการทดสอบระบบอีก เซพตี้มาตรวจ ลูกพี่มาตรวจ หึๆ ยุ่งยากจริงๆ งานโรงงาน ส่วนการเลือกขนาดกระบอกลมนั้น สามารถใช้วิธีการคำนวณ ง่ายๆ P=F/A นะครับ แรงดันลม ในโรงงานก็ตีต่ำๆ สุดก็ประมาณ 5 bar แปลงหน่วย ย้ายข้างหา เพื่อหา A ก็จะได้ขนาดกระบอกสูบแล้วครับ หรือหาจากกราฟ ในหนังสือ Pnumetic ก็ได้ผลไกล้เคียงกันครับ 
      



    สิ่งที่ได้จากโปรเจคอันแรกนี้นะครับ 

   1.การทำงานป้อนโรงงาน ความสัมพันธ์ เพื่อน Conection และจบลงด้วยเงิน เสมือนว่าคนอยู่ด้านใน หางานให้ด้านนอก คนด้านนอกจ่ายค่า คอม ให้คนด้านใน ผมว่ามันเป็นแบบที่ทุกที่ๆ อย่างดีหน่อยไม่เอาเงิน ก็เป็นเครื่องดื่มต่างๆ 555 

   2.การออกแบบ โดยใช้ Standard Part เมื่อก่อนผมไม่เคยรู้จักว่ามันคืออะไร แต่ตอนนี้ผมเริ่มรู้แล้ว ว่า พวก Design เขาไม่ได้เขียนออกแบบ Part ทุกตัว มันเป็น Standard Part  สามารถดาวน์โหลดได้ อย่างโปรเจคนี้ พวกกระบอกลม โซ่ เฟือง ต่างๆ มันมีให้โหลด ...... 

   3.กระบวนการผลิต การทำ BOQ การเขียนแบบสั่งงาน การลดต้นทุน เพื่อให้อยู่ในงบ การวางแผนงานให้ส่งก่อนวันวางบิล(เพราะงานโรงงานเป็นงานเครดิตเทอม อย่างต่ำก็ 30 วัน ถ้าเราทำไม่ทันเดือนนี้ ส่งเดือนหน้า เงินก็จะเข้าเดือนในนู้น..ละครับ )

   4.การติดต่อกับพวกเชลล์ โรงตัดเลเซอร์ 

   5.การติดตั้ง โปรเจคอันนี้ง่ายหน่อย เคลียร์พื้นที่ เอาเครื่องว่าต่อสายลม main 1 เส้นใช้งานได้เลย ตรงตามคอนเซป 

    ตัวนี้มันก็เปรียบเหมือนตัวต้นแบบนะครับเพราะเขาต้องทดสอบใช้งานจริงๆ หากผ่านไม่มีปัญหาอะไรก็จะมีตัวต่อไป แต่เป็นแบบ ยกล้อเข็นขึ้นคันเดียว  ซึ่งจะได้นำเสนอในบทความหน้านะครับ รวมถึงวิธีการ ดาวน์โหลด Standard Part ด้วยนะครับ
Work By Inventor

ทำงานวันแรก กับโปรเจคแรก Lift Support 2Cart 500 kg

Sarawut  |  at   14:55

      
   เมื่อผมไปถึงระยอง ตอนเย็นพี่ที่จะจ้างผมก็โทรมา บอกว่าพรุ่งนี้เช้าเข้าไปดูงานหน่อย มีโปรเจคให้ทำ แบบว่ามาถึงก็ลุยเลย แล้วก็ได้เวลา ผมกับลูกพี่ก็เข้าไปหา Engineer โรงงาน แถว GK อุตสาหกรรม ในนี้ผมคิดว่ามีแค่ Kawazaki และ บริษัท ในเครือเท่านั่นแหละ เพราะเห็นเท่านี้จริงๆ งานที่ทำก็เป็นแนว Make to order หรือตามใจผู้สั่งนะครับ ไปถึงก็ดูหน้างาน ว่าต้องการอะไรแบบ ไหนในโปรเจคนี้ เขาต้องการให้รถเข็นที่มีน้ำหนักรวม 250 kg 2 คัน ยกขึ้น 1 เมตร แล้วกำหนดความกว้าง และยาวของเครื่องให้เราไปออกแบบ  แล้วทำราคามา หากแบบโอเค ราคาโอเค ก็ตกลง เปิด P.O ดูเหมือนจะง่ายๆนะครับ แต่การทำงาน สร้างเครื่องจักรให้โรงงาน สิ่งสำคัญที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องความปลอดภัย ซึ่งการออกแบบโปรเจคนี้ คอนเซป ก็ประมาณ Hand lift ที่มีขายทั่วไปนะครับ ประมาณ 28000-30000 บาท
 แต่จะใช่ Pnumetic มาเป็นต้นกำลัง  คือประมาณว่า ต่อลมเข้าแล้วใช้งานได้เลย ครับ ราคาเครื่องก็ประมาณ 70000-80000 บาท 




       จะเห็นได้นะครับว่าคอนเซปคล้ายๆกัน แต่จะมี Guard มีประตู และระบบ Mechanical Lock ป้องกันกรณีมันร่วงลง ด้วย เมื่อแบบโอเค ราคาโอเค ตัวนี้ก็ได้ทำ ทำเสร็จ ก็ต้องมีการทดสอบระบบอีก เซพตี้มาตรวจ ลูกพี่มาตรวจ หึๆ ยุ่งยากจริงๆ งานโรงงาน ส่วนการเลือกขนาดกระบอกลมนั้น สามารถใช้วิธีการคำนวณ ง่ายๆ P=F/A นะครับ แรงดันลม ในโรงงานก็ตีต่ำๆ สุดก็ประมาณ 5 bar แปลงหน่วย ย้ายข้างหา เพื่อหา A ก็จะได้ขนาดกระบอกสูบแล้วครับ หรือหาจากกราฟ ในหนังสือ Pnumetic ก็ได้ผลไกล้เคียงกันครับ 
      



    สิ่งที่ได้จากโปรเจคอันแรกนี้นะครับ 

   1.การทำงานป้อนโรงงาน ความสัมพันธ์ เพื่อน Conection และจบลงด้วยเงิน เสมือนว่าคนอยู่ด้านใน หางานให้ด้านนอก คนด้านนอกจ่ายค่า คอม ให้คนด้านใน ผมว่ามันเป็นแบบที่ทุกที่ๆ อย่างดีหน่อยไม่เอาเงิน ก็เป็นเครื่องดื่มต่างๆ 555 

   2.การออกแบบ โดยใช้ Standard Part เมื่อก่อนผมไม่เคยรู้จักว่ามันคืออะไร แต่ตอนนี้ผมเริ่มรู้แล้ว ว่า พวก Design เขาไม่ได้เขียนออกแบบ Part ทุกตัว มันเป็น Standard Part  สามารถดาวน์โหลดได้ อย่างโปรเจคนี้ พวกกระบอกลม โซ่ เฟือง ต่างๆ มันมีให้โหลด ...... 

   3.กระบวนการผลิต การทำ BOQ การเขียนแบบสั่งงาน การลดต้นทุน เพื่อให้อยู่ในงบ การวางแผนงานให้ส่งก่อนวันวางบิล(เพราะงานโรงงานเป็นงานเครดิตเทอม อย่างต่ำก็ 30 วัน ถ้าเราทำไม่ทันเดือนนี้ ส่งเดือนหน้า เงินก็จะเข้าเดือนในนู้น..ละครับ )

   4.การติดต่อกับพวกเชลล์ โรงตัดเลเซอร์ 

   5.การติดตั้ง โปรเจคอันนี้ง่ายหน่อย เคลียร์พื้นที่ เอาเครื่องว่าต่อสายลม main 1 เส้นใช้งานได้เลย ตรงตามคอนเซป 

    ตัวนี้มันก็เปรียบเหมือนตัวต้นแบบนะครับเพราะเขาต้องทดสอบใช้งานจริงๆ หากผ่านไม่มีปัญหาอะไรก็จะมีตัวต่อไป แต่เป็นแบบ ยกล้อเข็นขึ้นคันเดียว  ซึ่งจะได้นำเสนอในบทความหน้านะครับ รวมถึงวิธีการ ดาวน์โหลด Standard Part ด้วยนะครับ

0 ความคิดเห็น :

         หลังจากจบป.ตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ด้วยโปรเจคอบแห้งผักเชียงดา จากเมืองเหนือ มุ่งหน้าลงใต้ ลงไปตามหาความฝันของ วิศกรป้ายแดง GPA 2.8 (คิดว่าเยอะนะฮ๊่ๆ แต่ไม่เคยได้ใช้มันเลย) คือการเป็นวิศกร ในโรงงานได้เงินเดือนเยอะๆ แต่ผมไม่ได้เข้าไปทำในบริษัทใหญ่ๆ ตามที่ตั้งใจไว้หรอกนะครับ พอดีรุ่นพี่ที่อยู่ระยองซึ่งได้เปิดบริษัทเองทำเกี่ยวกับงานเครื่องจักร โครงสร้างต่างๆ ป้อนให้โรงงาน หรือเขาเรียกกันว่า Maker ครับ บริษัทที่ทำเกี่ยวกับแนวๆนี้มีเยอะมาก ทั้งที่ตั้งเป็นบริษัทเอง หรือ เป็น หจก. โดยทำแค่คนเดียว ก็มี แต่พวกที่ทำแบบนี้ จะมีงานก็คือ Conection เพื่อนฝูงที่เรียนมา เพื่อนฝูงเจอกันในวงเหล้า คนรู้จัก และการบอกต่อๆ เท่านั้นครับ  

       แล้วทำไมผมถึงได้มาทำกับบริษัทนี้ละ 

        เมื่อครั้นจบใหม่ๆ ผมยังไม่ได้ใบ transcript มีแค่ใบรับรอง พอดีพี่ที่เปิด บริษัทอยู่ระยองกลับบ้าน นั่งกินเบียร์ด้วยกันแล้วก็ชวนผมลงไป โดยให้ความหวังอันสวยหรูว่า เงินเดือน 17000 ไม่รวมค่าหอพักและค่าอาหาร ทำงาน Design เครื่องต่างๆ Make to Order ไม่ต้องตอกบัตร ไม่ต้องเข้า 8.00-17.00 และได้ค่าคอมมิสชั่นเมื่องานจบ 7-10% ของราคางาน แหมกำลังว่างงานอยู่พอดี จบใหม่ด้วย ใครจะพลาดละครับ เพราะเพื่อนๆ ผมก็อยู่นู้น 2-3 คน ตกลงทันทีครัช....

      แล้วผมก็จากบ้านไป ฝากลูก 1 เมีย 1 ในท้องอีก 1 T-T แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว ฮ่าๆ อาทิตย์แรก 1 เดือนแรก บอกตรงๆเลยครับว่าเหงาสุดๆ อยากกลับบ้านมาก การเริ่มตั้นอะไรบางอย่างนี้ยากจริงๆ ผมเข้าไปยังห้องพักที่เขาจองไว้ให้ สุดยอดครับ เดือนละ 2500 มีแต่ห้องจริงๆ ร้อนก็ร้อน ไม่มีอะไรสักอย่าง แม้แต่กระทั้งขันน้ำ ล้างโถส้วม ผมตัดสินใจ ไม่นอนที่ห้องกลับมายังบริษัท ขอนอนที่ ออฟฟิต อย่างน้อยก็มี โต๊ะ มี Internet จากนั้นมาผมก็ไม่เคยเข้าไปที่ห้องนั้นอีกเลย ยังดีที่มีคนมาอยู่แทน มิฉะนั้นก็ต้องเสียค่าประกันห้องไปฟรีๆ แน่

สภาพแวดล้อมในระยอง ในความคิดผม

     เอาเป็นว่าบทความนี้ผมจะเล่าบรรยาการที่ผมได้ไปสัมผัส ที่ระยองมานะครับ ที่ที่ผมทำงานนั้นอยู่ใน อำเภอปลวกแดง ที่นอนของผมมี 2 ที่คือ หอเพื่อนผม ในอ.เมืองระยอง และที่ ออฟฟิต ปลวกแดง ทั้งสองห่างกันประมาณ 50 กิโลเมตร ที่นี้มีนิคมอุสาหรรม มาก มาก จนผมไม่รู้จะบรรยายยังไง และก็ยังมีนิคมอีกหลายที่ ที่กำลังจะตั้งขึ้น เพราะพื้นที่แถวนั้นเป็นเขต พื้นที่อุตสาหกรรมสามารถตั้งนิคมได้ หรือเขาเรียกว่า พื้นที่สีม่วง   แน่นอนครับเมื่อโรงงานเยอะ งานเยอะ คนเยอะ ทุกๆอย่างก็เยอะตาม เท่าที่ผมดูนะครับ คนไทยกับคนเขมร เกือบมีจำนวนเท่าๆกัน นะครับ เขมรพวกนี้ มีรถใช้กันนะครับ อากาศที่ระยองนี้ร้อนครับ ผมอาจตกบ่อยอยู่เหมือนกัน แต่ก็ร้อนอยู่ดี ชีวิตคนแถวนี้ส่วนใหญ่จะอยู่หอพักเป็นห้องแถวชั้นเดียวซึ่งมีเยอะมากในระยองราคาประมาณ 3000 จอดรถหน้าห้อง เพราะแถวนี้ที่ดินเขา ไม่ปลูกยาง มันสัปหลัง ก็ทำหอพักเป็นส่วนใหญ่

          ก็อย่างที่บอกแหละครับ 3000 นี้มีแค่ห้องจริงๆ แต่ในรูปยังดูดีนะครับ แถวปลวกแดงนี้หอแบบนี้จะสร้างหันหน้าชนกัน และหลังชนกัน สลับไปมาๆ จนเต็มพื้นที่ คนจะเยอะมากๆ วันเสาร์หรืออาทิตย์ไม่ต้องพูดถึงครับ ต้องมีเกิน 5 ห้องที่ปาตี้กันเที่ยงวันยันเที่ยงคืนนู้นแหละครับ ตามสไตล์ คนทำงาน เช้ามาก็ต่างคนไปทำงาน รายได้ที่นี้ค่อนข้างสูงครับ เพราะโอที บางทีทำกันถึง 4ทุ่ม-เที่ยงคืน ฮอลิเดย์เพียบ หากคนที่มีวินัยในการเงิม ผมว่าพอมีเก็บครับ

           ผมสังเกตุนะครับ คนที่ขายของตอนเช้า(ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ของกิน) หาลูกค้าติดแล้วจะสบายครับรายได้ไม่ต่ำวันละ 1000 แน่นอน เหมือนกับหนังสือเล่มหนึ่งที่ว่า ยุคขุดทองที California คนที่รวยไม่ใช่คนที่ขุดทอง แต่เป็นพ่อค้าแม่ค้ามากกว่า เพราะคนต้องกินทุก 3 มื้อ ทุกวันนะครับ แถวนั้นตอนกลางคืนผมมักจะไม่เที่ยว เพราะในส่วนตัวผมคิดว่าอันตรายนะครับ คนเยอะ คนเมา ต่างชาติเยอะ ใครเป็นใครก็ไม่รู้ ผมได้ยินข่าวโป้งเดียวจอดก็เยอะครับ ถ้าหากไปดื่มไปกิน แนะนำว่ากินอย่างสงบดีกว่าครับ ฮ่าๆในเรื่องตำรวจนะครับผมบอกตรงๆ ผมไม่ค่อยเห็นจริงๆครับหรือ คนมันเยอะมากหรือปล่าวก็ไม่รู้ แต่เห็นบ่อยคือตอนตั้งด่านตรวจรถนี้แหละครับ 

           สถานที่ท่องเที่ยวก็โอเคนะครับ แต่คนเยอะมากๆนะครับยิ่งวันหยุดไม่ต้องพูดถึง ทีผมเคยไปก็แถวชายทะเล อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล (อ่างนี้ส่วนใหญ่ไปดูเพื่อนตกเบ็ดครับ) อาหารแถวชายทะเล ผมว่าแพงนะครับ ยิ่งแถวหาดแม่รำพึง โอ้แม่เจ้า แพงมาก .... ส่วนใหญ่ผมกับเพื่อนจะไปซื้อที่ตลาด บ้านเพ อาหารสด และถูกกว่าข้างทะเลมาก ครับ แล้วมาทำเองครับ (ผมเป็นคนชอบทำอาหารมากๆ เป็นเชฟประจำวงเหล้าและวงข้าวนะครับ55)

        ระยองหากจะมาเที่ยวนั้นที่เที่ยวและที่ทำบุญเยอะนะครับ แต่วัดแถวนี้ค่อนข้างรวยแล้วนะครับผมคิดเอาเองนะครับ เพราะที่ระยองคนทำบุญเยอะมากๆ คนรวยก็เยอะ สำหรับน้องๆคนไหนที่จะลงไปทำงานที่ระยองนะครับ ผมแนะนำว่าลองดูว่ามีคนรู้จักอยู่ระยองหรือปล่าว เพราะถ้าจะมาบุกเบิกเองผมมองว่าค่อนข้างลำบากนะครับ ลงมาเงินติดตัวนี้ขออย่าต่ำ 10000 นะครับ เพราะถ้ายิ่งนานไปแล้วยังหางานไม่ได้ เงินก็จะหมด คววามเครียดจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเลยนะครับ หากมีเพื่อนหรือคนรู้จักก็พออาศัยกันได้ แต่ถ้าได้งานแล้วชอบในงานที่ทำก็ขอให้วางแผนการเงิน การออมให้ดีนะครับ อย่าใช้จ่ายจนเพลิน หรือหลงไปกับสภาพแวดล้อมนะครับ ลองดูสักปี แล้วอย่าเพิ่งสร้างหนี้ใหญ่เช่น รถ บ้าน นะครับ แล้วควรคิดแผนอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า ว่าตัวเองจะทำอะไรนะครับ หรือจะอยู่โรงงานระยองไปจนถึง 10 ปีก็แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล 
            ส่วนผม 1 ปี ผมว่าที่นั่นมันไม่เหมาะกับผม 1 ปีผม ไม่ค่อยชอบผมก็เลยกลับมาอยู่บ้านครับ 55 คิดถึงลูก 2 คน แม่ก็แก่ อีก ดีกว่าทนอยู่ ทำงานไปผมก็คิดว่างานจะออกมาไม่ดี สุดท้ายนี้ขอให้คนที่กำลังจะไปตามหาความฝัน ในเมืองอุสาหกรรม ได้งานที่ชอบที่รักนะครับ หรือหากใครต้องการสอบถามเรื่องราวต่างๆก็ ทักมาทาง facebook ได้นะครับ ่ส่วนเรื่องการทำงานของผมนี้เกียวกับการออกแบบ ใช้ Inventor กับ Autocad ล้วนๆนะครับ เอาไปเป็นบทความหน้านะครับ วันนี้กะจะเขียนเล่าโปรเจคแรก แต่ดันนอกเรื่องโม้ไปหน่อย ฮ่าๆ ... 


Work By Inventor

ออกจากรั้วมหาลัย มุ่งสู่โลกกว้างแห่งเมืองอุสาหกรรม "เมืองระยอง"

Sarawut  |  at   11:20

         หลังจากจบป.ตรี สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ด้วยโปรเจคอบแห้งผักเชียงดา จากเมืองเหนือ มุ่งหน้าลงใต้ ลงไปตามหาความฝันของ วิศกรป้ายแดง GPA 2.8 (คิดว่าเยอะนะฮ๊่ๆ แต่ไม่เคยได้ใช้มันเลย) คือการเป็นวิศกร ในโรงงานได้เงินเดือนเยอะๆ แต่ผมไม่ได้เข้าไปทำในบริษัทใหญ่ๆ ตามที่ตั้งใจไว้หรอกนะครับ พอดีรุ่นพี่ที่อยู่ระยองซึ่งได้เปิดบริษัทเองทำเกี่ยวกับงานเครื่องจักร โครงสร้างต่างๆ ป้อนให้โรงงาน หรือเขาเรียกกันว่า Maker ครับ บริษัทที่ทำเกี่ยวกับแนวๆนี้มีเยอะมาก ทั้งที่ตั้งเป็นบริษัทเอง หรือ เป็น หจก. โดยทำแค่คนเดียว ก็มี แต่พวกที่ทำแบบนี้ จะมีงานก็คือ Conection เพื่อนฝูงที่เรียนมา เพื่อนฝูงเจอกันในวงเหล้า คนรู้จัก และการบอกต่อๆ เท่านั้นครับ  

       แล้วทำไมผมถึงได้มาทำกับบริษัทนี้ละ 

        เมื่อครั้นจบใหม่ๆ ผมยังไม่ได้ใบ transcript มีแค่ใบรับรอง พอดีพี่ที่เปิด บริษัทอยู่ระยองกลับบ้าน นั่งกินเบียร์ด้วยกันแล้วก็ชวนผมลงไป โดยให้ความหวังอันสวยหรูว่า เงินเดือน 17000 ไม่รวมค่าหอพักและค่าอาหาร ทำงาน Design เครื่องต่างๆ Make to Order ไม่ต้องตอกบัตร ไม่ต้องเข้า 8.00-17.00 และได้ค่าคอมมิสชั่นเมื่องานจบ 7-10% ของราคางาน แหมกำลังว่างงานอยู่พอดี จบใหม่ด้วย ใครจะพลาดละครับ เพราะเพื่อนๆ ผมก็อยู่นู้น 2-3 คน ตกลงทันทีครัช....

      แล้วผมก็จากบ้านไป ฝากลูก 1 เมีย 1 ในท้องอีก 1 T-T แค่คิดก็เหนื่อยแล้ว ฮ่าๆ อาทิตย์แรก 1 เดือนแรก บอกตรงๆเลยครับว่าเหงาสุดๆ อยากกลับบ้านมาก การเริ่มตั้นอะไรบางอย่างนี้ยากจริงๆ ผมเข้าไปยังห้องพักที่เขาจองไว้ให้ สุดยอดครับ เดือนละ 2500 มีแต่ห้องจริงๆ ร้อนก็ร้อน ไม่มีอะไรสักอย่าง แม้แต่กระทั้งขันน้ำ ล้างโถส้วม ผมตัดสินใจ ไม่นอนที่ห้องกลับมายังบริษัท ขอนอนที่ ออฟฟิต อย่างน้อยก็มี โต๊ะ มี Internet จากนั้นมาผมก็ไม่เคยเข้าไปที่ห้องนั้นอีกเลย ยังดีที่มีคนมาอยู่แทน มิฉะนั้นก็ต้องเสียค่าประกันห้องไปฟรีๆ แน่

สภาพแวดล้อมในระยอง ในความคิดผม

     เอาเป็นว่าบทความนี้ผมจะเล่าบรรยาการที่ผมได้ไปสัมผัส ที่ระยองมานะครับ ที่ที่ผมทำงานนั้นอยู่ใน อำเภอปลวกแดง ที่นอนของผมมี 2 ที่คือ หอเพื่อนผม ในอ.เมืองระยอง และที่ ออฟฟิต ปลวกแดง ทั้งสองห่างกันประมาณ 50 กิโลเมตร ที่นี้มีนิคมอุสาหรรม มาก มาก จนผมไม่รู้จะบรรยายยังไง และก็ยังมีนิคมอีกหลายที่ ที่กำลังจะตั้งขึ้น เพราะพื้นที่แถวนั้นเป็นเขต พื้นที่อุตสาหกรรมสามารถตั้งนิคมได้ หรือเขาเรียกว่า พื้นที่สีม่วง   แน่นอนครับเมื่อโรงงานเยอะ งานเยอะ คนเยอะ ทุกๆอย่างก็เยอะตาม เท่าที่ผมดูนะครับ คนไทยกับคนเขมร เกือบมีจำนวนเท่าๆกัน นะครับ เขมรพวกนี้ มีรถใช้กันนะครับ อากาศที่ระยองนี้ร้อนครับ ผมอาจตกบ่อยอยู่เหมือนกัน แต่ก็ร้อนอยู่ดี ชีวิตคนแถวนี้ส่วนใหญ่จะอยู่หอพักเป็นห้องแถวชั้นเดียวซึ่งมีเยอะมากในระยองราคาประมาณ 3000 จอดรถหน้าห้อง เพราะแถวนี้ที่ดินเขา ไม่ปลูกยาง มันสัปหลัง ก็ทำหอพักเป็นส่วนใหญ่

          ก็อย่างที่บอกแหละครับ 3000 นี้มีแค่ห้องจริงๆ แต่ในรูปยังดูดีนะครับ แถวปลวกแดงนี้หอแบบนี้จะสร้างหันหน้าชนกัน และหลังชนกัน สลับไปมาๆ จนเต็มพื้นที่ คนจะเยอะมากๆ วันเสาร์หรืออาทิตย์ไม่ต้องพูดถึงครับ ต้องมีเกิน 5 ห้องที่ปาตี้กันเที่ยงวันยันเที่ยงคืนนู้นแหละครับ ตามสไตล์ คนทำงาน เช้ามาก็ต่างคนไปทำงาน รายได้ที่นี้ค่อนข้างสูงครับ เพราะโอที บางทีทำกันถึง 4ทุ่ม-เที่ยงคืน ฮอลิเดย์เพียบ หากคนที่มีวินัยในการเงิม ผมว่าพอมีเก็บครับ

           ผมสังเกตุนะครับ คนที่ขายของตอนเช้า(ข้าวเหนียวหมูปิ้ง ของกิน) หาลูกค้าติดแล้วจะสบายครับรายได้ไม่ต่ำวันละ 1000 แน่นอน เหมือนกับหนังสือเล่มหนึ่งที่ว่า ยุคขุดทองที California คนที่รวยไม่ใช่คนที่ขุดทอง แต่เป็นพ่อค้าแม่ค้ามากกว่า เพราะคนต้องกินทุก 3 มื้อ ทุกวันนะครับ แถวนั้นตอนกลางคืนผมมักจะไม่เที่ยว เพราะในส่วนตัวผมคิดว่าอันตรายนะครับ คนเยอะ คนเมา ต่างชาติเยอะ ใครเป็นใครก็ไม่รู้ ผมได้ยินข่าวโป้งเดียวจอดก็เยอะครับ ถ้าหากไปดื่มไปกิน แนะนำว่ากินอย่างสงบดีกว่าครับ ฮ่าๆในเรื่องตำรวจนะครับผมบอกตรงๆ ผมไม่ค่อยเห็นจริงๆครับหรือ คนมันเยอะมากหรือปล่าวก็ไม่รู้ แต่เห็นบ่อยคือตอนตั้งด่านตรวจรถนี้แหละครับ 

           สถานที่ท่องเที่ยวก็โอเคนะครับ แต่คนเยอะมากๆนะครับยิ่งวันหยุดไม่ต้องพูดถึง ทีผมเคยไปก็แถวชายทะเล อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล (อ่างนี้ส่วนใหญ่ไปดูเพื่อนตกเบ็ดครับ) อาหารแถวชายทะเล ผมว่าแพงนะครับ ยิ่งแถวหาดแม่รำพึง โอ้แม่เจ้า แพงมาก .... ส่วนใหญ่ผมกับเพื่อนจะไปซื้อที่ตลาด บ้านเพ อาหารสด และถูกกว่าข้างทะเลมาก ครับ แล้วมาทำเองครับ (ผมเป็นคนชอบทำอาหารมากๆ เป็นเชฟประจำวงเหล้าและวงข้าวนะครับ55)

        ระยองหากจะมาเที่ยวนั้นที่เที่ยวและที่ทำบุญเยอะนะครับ แต่วัดแถวนี้ค่อนข้างรวยแล้วนะครับผมคิดเอาเองนะครับ เพราะที่ระยองคนทำบุญเยอะมากๆ คนรวยก็เยอะ สำหรับน้องๆคนไหนที่จะลงไปทำงานที่ระยองนะครับ ผมแนะนำว่าลองดูว่ามีคนรู้จักอยู่ระยองหรือปล่าว เพราะถ้าจะมาบุกเบิกเองผมมองว่าค่อนข้างลำบากนะครับ ลงมาเงินติดตัวนี้ขออย่าต่ำ 10000 นะครับ เพราะถ้ายิ่งนานไปแล้วยังหางานไม่ได้ เงินก็จะหมด คววามเครียดจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเลยนะครับ หากมีเพื่อนหรือคนรู้จักก็พออาศัยกันได้ แต่ถ้าได้งานแล้วชอบในงานที่ทำก็ขอให้วางแผนการเงิน การออมให้ดีนะครับ อย่าใช้จ่ายจนเพลิน หรือหลงไปกับสภาพแวดล้อมนะครับ ลองดูสักปี แล้วอย่าเพิ่งสร้างหนี้ใหญ่เช่น รถ บ้าน นะครับ แล้วควรคิดแผนอีก 5 - 10 ปีข้างหน้า ว่าตัวเองจะทำอะไรนะครับ หรือจะอยู่โรงงานระยองไปจนถึง 10 ปีก็แล้วแต่ความชอบส่วนบุคคล 
            ส่วนผม 1 ปี ผมว่าที่นั่นมันไม่เหมาะกับผม 1 ปีผม ไม่ค่อยชอบผมก็เลยกลับมาอยู่บ้านครับ 55 คิดถึงลูก 2 คน แม่ก็แก่ อีก ดีกว่าทนอยู่ ทำงานไปผมก็คิดว่างานจะออกมาไม่ดี สุดท้ายนี้ขอให้คนที่กำลังจะไปตามหาความฝัน ในเมืองอุสาหกรรม ได้งานที่ชอบที่รักนะครับ หรือหากใครต้องการสอบถามเรื่องราวต่างๆก็ ทักมาทาง facebook ได้นะครับ ่ส่วนเรื่องการทำงานของผมนี้เกียวกับการออกแบบ ใช้ Inventor กับ Autocad ล้วนๆนะครับ เอาไปเป็นบทความหน้านะครับ วันนี้กะจะเขียนเล่าโปรเจคแรก แต่ดันนอกเรื่องโม้ไปหน่อย ฮ่าๆ ... 


0 ความคิดเห็น :

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2557

             หลังจากเข้าสอบหัวข้อ ปรีโปรเจค ครั้งแรก ไม่ผ่าน โดนคอมเม้นว่า จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเครื่องของคุณออกแบบการกระจายลม ได้ดี เท่ากันทุกชั้น ผมจึงได้กลับไปออกแบบใหม่ แล้วลอง จำลองความเร็วลมด้วยโปรแกรม CFD ด้วยเพื่อให้การ พรีเซนต์เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้สอบหัวข้อผ่านแล้ว จะได้ทำๆจบๆกันสักที ฮ่าๆ 
             ในการใช้โปรแกรม CFD นั้นต้องสร้างโมเดล จากโปรแกรม Inventor ก่อนถึงจะสามารถไป simulate ใน CFD 

            ในการสร้งโมเดลนั้นควรลดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นต่อการทดสอบออก เพื่อที่การประมวลผลจะได้ไวขึ้น จากนั้นก็กำหนดค่า ต่างๆ เช่น Material , Boundary ต่างๆ ที่จะ simulate จากนั้นก็ทำการทดสอบ
     

จากรูปเครื่องของผม ลมจะเข้าล่างทั้งช้ายและขวา แล้วผ่านแต่ละชั้นพร้อมกัน สุดท้ายปล่อยออกด้านบนส่วนที่เป็นสีแดงจะเป็นความเร็วที่สูง ส่วนถาดวางจะมี 18 ถาด 9 ชั้น นี้คือผลงานนำเสนอ
 ตอนสอบหัวข้อ ซึ่งก็สามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้ดี ในระดับหนึ่ง ก็เลยผ่าน แล้วก็ได้ทำครับ
       ส่วนด้านล่างคือรูปเต็มๆ ที่ได้ออกแบบและสร้างครับ




      หลังสร้างเสร็จ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการทดสอบ ว่าได้ผลตามที่ออกแบบไหม จากที่ผมได้ทดสอบนั้นผลก็มีความไกล้เคียงกันพอสมควร แต่งานประกอบ งานเชื่อม ต่างๆย่อมไม่ได้ขนาดตามแบบเท่าไหร่ จึงทำให้คลาดเคลื่อนจากที่ได้ออกแบบ ไปบ้างแต่ก็พอแก้ไขและ รับได้ ในปัจจุบันผมว่าการนำเสนอ มีส่วนสำคัญมากๆ หายากมากครับตอนนี้ที่จะนั่งเอาแบบ 2D มาคุยกัน คนจ้างก็ดูไม่ค่อยออก อย่าว่าแต่เครื่องกลเลยครับ ขนาดบ้าน ตึก คอนโด ก็ต้องพรีเซนต์เป็น 3D เพื่อเห็นภาพ กันหมดแล้ว ยุคสมัยมันเปลี่ยนคนเราก็ต้องเปลี่ยนการทำงาน กันบ้างนะครับ 


      สุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกว่า วิชาโปรเจคที่ผมผ่ามมาได้นี้เพราะ วิชาเขียนแบบ และการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม การเข้าหาอาจารย์ และการวางแผน หากทำไปเรื่อยๆ ไม่มีเป้าหมาย ผมว่ายากนะครับกว่ามันจะจบ มันก็เหมือนหนังสือหลายๆเล่มว่าจงกำหนดเป้าหมายในชีวิต แล้วก็วางแผนให้ไปถึงเป้าหมาย อยากให้น้องที่กำลังทำโปรเจคจบหรืออะไรก็แล้วแต่ลองขีดๆเขียนลงในกระดาษ A4 เล่นๆดูก็ได้นะครับ บางทีการเขียนแบบที่ผมกล่าวอาจจะทำให้เราเห็นตัวเรามากขึ้น ว่าเราต้องการอะไร ครับ 
      

โปรเจคจบหัวข้อที่ 2 Project Designs by Autodesk Inventor and Autodesk Simulation CFD 2013 V.1



Work By Inventor

โปรเจคจบหัวข้อที่ 2 Project Designs by Autodesk Inventor and Autodesk Simulation CFD 2013 V.2

Sarawut  |  at   17:02

             หลังจากเข้าสอบหัวข้อ ปรีโปรเจค ครั้งแรก ไม่ผ่าน โดนคอมเม้นว่า จะแน่ใจได้อย่างไรว่าเครื่องของคุณออกแบบการกระจายลม ได้ดี เท่ากันทุกชั้น ผมจึงได้กลับไปออกแบบใหม่ แล้วลอง จำลองความเร็วลมด้วยโปรแกรม CFD ด้วยเพื่อให้การ พรีเซนต์เห็นภาพชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อจะได้สอบหัวข้อผ่านแล้ว จะได้ทำๆจบๆกันสักที ฮ่าๆ 
             ในการใช้โปรแกรม CFD นั้นต้องสร้างโมเดล จากโปรแกรม Inventor ก่อนถึงจะสามารถไป simulate ใน CFD 

            ในการสร้งโมเดลนั้นควรลดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นต่อการทดสอบออก เพื่อที่การประมวลผลจะได้ไวขึ้น จากนั้นก็กำหนดค่า ต่างๆ เช่น Material , Boundary ต่างๆ ที่จะ simulate จากนั้นก็ทำการทดสอบ
     

จากรูปเครื่องของผม ลมจะเข้าล่างทั้งช้ายและขวา แล้วผ่านแต่ละชั้นพร้อมกัน สุดท้ายปล่อยออกด้านบนส่วนที่เป็นสีแดงจะเป็นความเร็วที่สูง ส่วนถาดวางจะมี 18 ถาด 9 ชั้น นี้คือผลงานนำเสนอ
 ตอนสอบหัวข้อ ซึ่งก็สามารถตอบคำถามของอาจารย์ได้ดี ในระดับหนึ่ง ก็เลยผ่าน แล้วก็ได้ทำครับ
       ส่วนด้านล่างคือรูปเต็มๆ ที่ได้ออกแบบและสร้างครับ




      หลังสร้างเสร็จ สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการทดสอบ ว่าได้ผลตามที่ออกแบบไหม จากที่ผมได้ทดสอบนั้นผลก็มีความไกล้เคียงกันพอสมควร แต่งานประกอบ งานเชื่อม ต่างๆย่อมไม่ได้ขนาดตามแบบเท่าไหร่ จึงทำให้คลาดเคลื่อนจากที่ได้ออกแบบ ไปบ้างแต่ก็พอแก้ไขและ รับได้ ในปัจจุบันผมว่าการนำเสนอ มีส่วนสำคัญมากๆ หายากมากครับตอนนี้ที่จะนั่งเอาแบบ 2D มาคุยกัน คนจ้างก็ดูไม่ค่อยออก อย่าว่าแต่เครื่องกลเลยครับ ขนาดบ้าน ตึก คอนโด ก็ต้องพรีเซนต์เป็น 3D เพื่อเห็นภาพ กันหมดแล้ว ยุคสมัยมันเปลี่ยนคนเราก็ต้องเปลี่ยนการทำงาน กันบ้างนะครับ 


      สุดท้ายนี้ผมอยากจะบอกว่า วิชาโปรเจคที่ผมผ่ามมาได้นี้เพราะ วิชาเขียนแบบ และการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม การเข้าหาอาจารย์ และการวางแผน หากทำไปเรื่อยๆ ไม่มีเป้าหมาย ผมว่ายากนะครับกว่ามันจะจบ มันก็เหมือนหนังสือหลายๆเล่มว่าจงกำหนดเป้าหมายในชีวิต แล้วก็วางแผนให้ไปถึงเป้าหมาย อยากให้น้องที่กำลังทำโปรเจคจบหรืออะไรก็แล้วแต่ลองขีดๆเขียนลงในกระดาษ A4 เล่นๆดูก็ได้นะครับ บางทีการเขียนแบบที่ผมกล่าวอาจจะทำให้เราเห็นตัวเรามากขึ้น ว่าเราต้องการอะไร ครับ 
      

โปรเจคจบหัวข้อที่ 2 Project Designs by Autodesk Inventor and Autodesk Simulation CFD 2013 V.1



0 ความคิดเห็น :

วันพุธที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2557

        หลังจากได้วิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมทำโปรเจคไม่ไปข้างหน้าเสียที >>>> โปรเจค โปรเจ๊ง
ผมจึงเลือกหัวข้อที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว แต่แค่เปลี่ยนโปรดักส์ ในการใช้อบ และออกแบบให้ดูดีกว่าเดิม
โปรเจคอันเก่าชื่อว่า " เครื่องอบแห้งมันฝรั่งด้วยแก๊สอินฟาเรด " ผมก็เลยทำแนวเดียวกัน เลยไปหาโปรดักส์ที่ต้องการเครื่องอบ จนได้ไปเจอที่แม่แตง คือ ใบเชียงดา ซึ่งได้ทำเป็นธุรกิจ ชาเชียงดา แต่ที่นี้ได้แต่ใช้แสงแดด ในการอบแห้งทำให้มีปัญหา ต่างๆในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิในการอบแห้งไม่สามารถควบคุมได้ และสีที่ได้จากการตากแห้งไม่ค่อยสวย.... 
       ซึ่งหัวข้อนี้ทำสำเร็จได้แน่นอน เพราะเครื่องอบแห้งมีขายทั่วไป แต่ไม่มีที่ไหนเคยทดลองอบแห้งผักเชียงดา ผมจึงได้ตัดสินใจเลือกหัวข้อ อบแห้งผักเชียงดา ส่วนเนื้อหาก็คล้ายๆกับการอบแห้งมันฝรัง ไม่ต้องเสียเวลาไปหาอีก  มาดูเวอร์ชั่น 1 ของเครื่องกันนะครับ เวอร์ชั่นนี้สอบหัวข้อไม่ผ่านเพราะ "อาจารย์ ถามว่าแล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าลมจะเข้าไปในห้องอบแห้งได้อย่างทั่วถึง....และอยากให้เห็นภาพการเคลื่อนที่ ของลมที่เข้าไปในห้องอบแห้ง" ได้ยินคำนี้เข้าไปผมถึงกับอึ้ง.... อ่าวแล้วไอ่กลุ่มอบแห้งมันฝรั่งที่สอบผ่านไปมันตอบว่าไงเนี่ย....
       จากเวอร์ชั่นแรกที่ผมออกแบบผมก็ไปดูๆแบบใน Internet แล้วมาเขียนใหม่ได้ดังรูปด้านล่างนี้แหละครับ 



     ซึ่งหัวใจของการทำเครื่องอบแห้งง่ายๆคือ เอาโปรดักส์เข้าไปแล้ว ให้ความร้อน เพื่อลดความชื้นในตัว โปรดักส์ ส่วนใหญ่จะให้เหลือประมาณ 5-10% มาตรฐานแห้ง* (อันนี้เป็นศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการอบแห้งครับ) และต้องแห้งทั่วกันๆทุกชั้นวางถึงจะดี แต่ความเป็นจริงแล้วมันทำยากอยู่เหมือนกัน หากจะทำได้เครื่องจะต้องใหญ่มาก และใช้พื้นที่เยอะมาก 
     แต่เครื่องอบแห้งที่ขายๆกันทั่วไปส่วนใหญ่ก็รูปทรง สี่เหลี่ยมตั้งๆ นี้แหละครับ แต่ขนาดไม่ค่อยใหญ่ แคบๆ ทำให้อบได้นิดเดียว 
     จากในแบบนะครับหากสร้างจริงๆผมก็คงคิดว่ามันคงไม่แห้งทั่วๆกันแน่ๆ ดังนั้นผมจึงกลับไปออกแบบใหม่ พร้อมทั้งหาวิธีที่จะแสดงให้อาจารย์ดูว่า การกระจายลมเข้าไปในห้องอบแห้งของเครื่องที่ผมออกแบบมันกระจายได้เท่าๆกัน โดยก็ต้องพึ่งโปรแกรม CFD แต่เครื่อง V.2 เป็นอย่างไร ก็ติดตามไปกับบทความหน้านะครับ 

Work By Inventor

โปรเจคจบหัวข้อที่ 2 Designs by Autodesk Inventor and Autodesk Simulation CFD 2013

Sarawut  |  at   23:37

        หลังจากได้วิเคราะห์เหตุผลว่าทำไมทำโปรเจคไม่ไปข้างหน้าเสียที >>>> โปรเจค โปรเจ๊ง
ผมจึงเลือกหัวข้อที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว แต่แค่เปลี่ยนโปรดักส์ ในการใช้อบ และออกแบบให้ดูดีกว่าเดิม
โปรเจคอันเก่าชื่อว่า " เครื่องอบแห้งมันฝรั่งด้วยแก๊สอินฟาเรด " ผมก็เลยทำแนวเดียวกัน เลยไปหาโปรดักส์ที่ต้องการเครื่องอบ จนได้ไปเจอที่แม่แตง คือ ใบเชียงดา ซึ่งได้ทำเป็นธุรกิจ ชาเชียงดา แต่ที่นี้ได้แต่ใช้แสงแดด ในการอบแห้งทำให้มีปัญหา ต่างๆในช่วงฤดูฝน อุณหภูมิในการอบแห้งไม่สามารถควบคุมได้ และสีที่ได้จากการตากแห้งไม่ค่อยสวย.... 
       ซึ่งหัวข้อนี้ทำสำเร็จได้แน่นอน เพราะเครื่องอบแห้งมีขายทั่วไป แต่ไม่มีที่ไหนเคยทดลองอบแห้งผักเชียงดา ผมจึงได้ตัดสินใจเลือกหัวข้อ อบแห้งผักเชียงดา ส่วนเนื้อหาก็คล้ายๆกับการอบแห้งมันฝรัง ไม่ต้องเสียเวลาไปหาอีก  มาดูเวอร์ชั่น 1 ของเครื่องกันนะครับ เวอร์ชั่นนี้สอบหัวข้อไม่ผ่านเพราะ "อาจารย์ ถามว่าแล้วคุณจะรู้ได้ไงว่าลมจะเข้าไปในห้องอบแห้งได้อย่างทั่วถึง....และอยากให้เห็นภาพการเคลื่อนที่ ของลมที่เข้าไปในห้องอบแห้ง" ได้ยินคำนี้เข้าไปผมถึงกับอึ้ง.... อ่าวแล้วไอ่กลุ่มอบแห้งมันฝรั่งที่สอบผ่านไปมันตอบว่าไงเนี่ย....
       จากเวอร์ชั่นแรกที่ผมออกแบบผมก็ไปดูๆแบบใน Internet แล้วมาเขียนใหม่ได้ดังรูปด้านล่างนี้แหละครับ 



     ซึ่งหัวใจของการทำเครื่องอบแห้งง่ายๆคือ เอาโปรดักส์เข้าไปแล้ว ให้ความร้อน เพื่อลดความชื้นในตัว โปรดักส์ ส่วนใหญ่จะให้เหลือประมาณ 5-10% มาตรฐานแห้ง* (อันนี้เป็นศัพท์ที่ใช้ในกระบวนการอบแห้งครับ) และต้องแห้งทั่วกันๆทุกชั้นวางถึงจะดี แต่ความเป็นจริงแล้วมันทำยากอยู่เหมือนกัน หากจะทำได้เครื่องจะต้องใหญ่มาก และใช้พื้นที่เยอะมาก 
     แต่เครื่องอบแห้งที่ขายๆกันทั่วไปส่วนใหญ่ก็รูปทรง สี่เหลี่ยมตั้งๆ นี้แหละครับ แต่ขนาดไม่ค่อยใหญ่ แคบๆ ทำให้อบได้นิดเดียว 
     จากในแบบนะครับหากสร้างจริงๆผมก็คงคิดว่ามันคงไม่แห้งทั่วๆกันแน่ๆ ดังนั้นผมจึงกลับไปออกแบบใหม่ พร้อมทั้งหาวิธีที่จะแสดงให้อาจารย์ดูว่า การกระจายลมเข้าไปในห้องอบแห้งของเครื่องที่ผมออกแบบมันกระจายได้เท่าๆกัน โดยก็ต้องพึ่งโปรแกรม CFD แต่เครื่อง V.2 เป็นอย่างไร ก็ติดตามไปกับบทความหน้านะครับ 

0 ความคิดเห็น :


       วิชานี้จะเป็นวิชาที่ต้องทำทุกคน คนที่ผ่านมาคงรู้ซึ้งถึงพลังงานบางอย่าง ว่าเป็นอย่างไรและหลังจากผมตัดสินใจแยกทางกับโปรเจคเทพ! สกู๊ตเตอร์ไฮบริด 
ถึงเวลาที่ผมต้องหาโปรเจคใหม่ ซึ่งต้องทำให้เสร็จภายในเทอม 2 ซึ่งเหลือเวลาอีก ประมาณ6เดือน ประสบการณ์ที่ได้จากโปรเจคไฮบริด ผมจึงมาวิเคราะห์ ปัญหาว่าทำไมไฮบริดมันถึงไม่สำเร็จ และถ้าหากหัวข้อใหม่ จะทำยังไงให้เสร็จ แล้วจบภายในเทอม 2

       หลังจากที่ผมได้วิเคราะห์ปัญหาผมได้เขียนมาเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1.การเลือกหัวข้อ 

       สำหรับการเลือกหัวข้อนั้นผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ผมอยากให้น้องๆนักศึกษาที่กำลังทำหรือกำลังจะเริ่มทำนั้น วิเคราะห์ตัวเองให้ดี ว่ามีความสามารถในเรื่องไหน ถนัดในเรื่องได และอีกอย่างก็คือเรื่อง เงิน ไม่ใช่ว่าเลือกหัวข้อเพราะว่า อาจารย์บอกว่าดี ทำได้ หรือหาหัวข้อเองไม่ได้ ก็ควรไปปรึกษาหลายๆ อาจารย์ เพื่อที่จะหลายหัวข้อ และนำแต่ละหัวข้อมาตัดสินใจ ว่าชอบอันไหน ถนัดอะไร ทำแบบนี้จะมีโอกาศ รอดดีที่สุด
หรือไม่ผมแนะนำอีกอย่าง คือการต่อยอดโปรเจคเก่าที่รุ่นพี่ทำ เพราะจะทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลใหม่ เพราะกลุ่มเก่าเขาหามาให้เกือบหมดแล้ว เหลือแค่เรามองปัญหาของโปรเจคเดิมนั้นให้ออก แล้วหาทางแก้ไขของเดิม
       แต่เราควรมองโปรเจคตัวนั่น เนิ่นๆ แนะนำเลยนะครับ ตั้งแต่กลุ่มที่เราจะไปสานต่อกำลังสร้างควรไปช่วย หรือคลุกคลีกับเขา แล้วเราก็จะรู้โปรเจคนั้นโดยที่ไม่ต้องไปนับหนึ่งเลย .....
       อีกอย่างนอกจากหัวข้อแล้วภายในเล่มหัวข้อยังต้องมี วัตถุประสงค์ และ ขอบเขต ซึ่งสองอันนี้ก็สำคัญมาก เพราะอาจารย์ผู้สอบเขาจะดูตรงนี้เป็นหลัก และจะถามและสอบตรงนี้ตลอด ดังนั้นเวลาจะตั้งขอบเขตุของโปรเจค ควรคิดให้ดีก่อน นะครับ

2.บั๊ดดี้(ผู้ร่วมชะตากรรม)

        แน่นอนการทำโปรเจคนั้น อาจจะมีการร่วมงานกับเพื่อนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จนถึงกลุ่มใหญ่ๆซึ่งโปรเจคนั้นต้องระดับมหาวิทยาลัย.. หรือไม่ก็อาจจะทำคนเดียวไปเลย ถ้าหากคนเดียว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโปรเจคไม่ค่อยใหญ่ หรือเป็นหัวข้อแนววิเคราะห์ ซึ่งจะใช้การคำนวณ สถิติ ค่อนข้างมาก ไม่ค่อยเหมาะกับสายช่างเท่าไหร่นัก อาจจะเหมาะกับสาย ม.6 ซึ่งเก่งด้านคำนวณกว่า หากเราต้องเลือกบั๊ดดี้นั้นก็ควรเลือกให้ดีนะครับ หาคนที่มีความรับผิดชอบ และต้องหมั่นปรึกษากันให้บ่อยๆเวลามีปัญหา อย่าเก็บไว้คนเดียวครับเพราะมันจะทำให้ อึดอัดมากยิ่งขึ้น แล้วอาจจะขัดแย้งจนทำให้ โปรเจคล่มได้ในที่สุด

3.อาจารย์ที่ปรึกษา 

         สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษานั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าหากเราได้หัวข้อจากที่ปรึกษาท่านใด เราก็คงต้องเลือกอาจารย์ท่านนั้นเป็นที่ปรึกษาไปโดยปริยายใช่ไหมครับ ก่อนที่จะตกลงปลงใจ ก็ลองสอบถามรุ่นพี่ๆ หรือเพื่อนๆ ก่อนว่าอ.ที่ปรึกษาคนนั้นคนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจ เพราะเราก็ต้องเอาชีวิตของเราไปฝากที่อาจารย์ที่ปรึกษา ไปกว่า 70% เลยผมมั่นใจว่า 70% จริงๆ เพราะหากได้หัวข้อที่ถนัด อ.ที่ปรึกษาดี มีความรู้ตรงกับหัวข้อ รับรองมีชัยไปกว่า ครึ่ง จบ...แน่นอน ... แต่ที่อยากให้ดูก็คือ บางที ทุกอย่างลงตัว แต่อ.ที่ปรึกษา ประชุม อบรม หาตัวอยาก ไม่มีเวลานี้ก็แย่นะครับ หากเจอแบบนี้ก็ต้องคุยกับที่ปรึกษาให้ดีนะครับ เช่นขอตารางเวลาของที่ปรึกษา เพื่อนัดเจอหรือปรึกษา หากทำเองคิดเอง ประสบการณ์ไม่มี ก็มืดเอาง่ายๆเลยนะครับ
        นอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว อาจารย์ทุกๆท่าน ก็สามารถให้คำปรึกษาได้ แต่การไปปรึกษานั้นควรปรึกษาแบบศึกษามาก่อนนะครับ อย่าทะเล่อทะล่า เข้าไปถามตรงๆว่า อาจารย์ครับอันนี้ทำอย่างไรครับ ควรเข้าไปถามแบบ อาจารย์ครับ ผมทำอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ควรแก้ไขยังไงครับ ประมาณนี้...

4.Internet

     ยุคนี้สมัยนี้อยากรู้อะไรก็ Google ครับ จะถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุด และหาง่ายที่สุด แต่จะหาเจอไหม นั่นคือปัญหา และส่วนใหญ่ผมขอแนะนำนะครับ ถ้าจะเป็น ทฤษฎี ต่างของให้สืบค้นให้หนังสือในห้องสมุดเอานะครับ เพราะอาจารย์ ส่วนใหญ่เวลาเขาอ่าน เขาจะเน้นอ้างอิงหนังสือ ตำราทางวิศวกรรม ไม่ค่อยชอบสืบค้นแบบ Online แต่หากจำเป็นจริงๆ ก็ควรเป็นเวปที่ได้รับการยอมรับนะครับ ส่วนการค้นหา ผมขอเน้นให้ใช้ภาษาอังกฤษ Search หาเอานะครับ เพราะส่วนใหญ่ผมคิดว่าถ้าเป็นเครื่องจักรต่างๆ เวลาค้นคำว่า เครื่องต่างๆ ก็จะเจอแต่ในประเทศไทย แล้วไอเดียที่เราจะทำก็มีไม่เยอะ แต่หากใช้ภาษาอังกฤษ แล้วจะออกมาให้ดูเยอะมากทั้ง แบบต่างๆ วีดีโอ เพราะเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก 
     รวมถึงการใช้เวปบอร์ด ต่างๆสอบถามผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราทำโปรเจคก็จะช่วยได้มากนะครับ 

5.บัญชีรายรับรายจ่าย

      ข้อนี้คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ ทำโปรเจคร่วมกันต้องขาดไม่ได้เป็นอันขาด ทั้งบิล และบันชีนะครับ เพราะเรื่องเงินเรื่องทอง มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยิ่งแบบก็ยังไม่มี แถมไม่เคยทำ BOQ  มีแต่คอนเซปในหัว ค่อยๆแก้เอาหน้างาน สร้างก่อนแล้วค่อยเก็บ Drawing ทีหลัง งบนี้ประเมินไม่ได้ บานแน่นอนครับ ส่วนใครมีเงินถุงเงินถังก็สบายไปหน่อย . . .

6.เวลา

       เรื่องเวลา มันเป็นเรื่องสำคัญอยู่แล้ว เพราะการลงเรียนวิชาโปรเจคจะใช้เวลา 1 เทอม เท่ากับเรียนวิชาอื่นๆ แต่นักศึกษาไกล้จบอย่างเราๆ ไม่เคยทำงานมาก่อน ดังนั้นหากจะให้เสร็จภารกิจภายใน 1 เทอมคงจะยากสักหน่อย ดังนั้น วิชานี้ควรเริ่มศึกษา หาหัวข้อ หาข้อมูลตั้งแต่เนิ่นๆ พอถึงเวลาแล้วค่อยลง วิชาโปรเจค เพราะวิชานี้จะมีกฎกติกามากมาย แค่ทำเรื่องต่างๆ หาอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการ เพื่อที่จะเซ็นแล้ว แต่ละคนยังกับนินจา หาตัวอยากจริงๆ เสียเวลาตรงนี้ไปเยอะเหมือนกันนะครับ ดังนั้นอย่างที่บอกในหัวข้ออาจารย์ที่ปรึกษา ควรหาตารางสอนจริงๆ ของทุกๆท่าน เบอร์โทร (ควรสอบถามก่อนว่าท่านสะดวกไหม) 
      ผมแนะนำว่าหากลงวิชานี้ ต้องมีเวลาให้กับมันจริงๆ ไม่ใช่ว่าเรียนเต็มคาบ จ-ศ แต่ยังดันลงโปรเจคอีก ผมรับรองว่าไม่ทันแน่นอนครับ อย่างๆน้อยๆควรจะมีเวลาให้กับวิชาโปรเจคนี้ 3 วันต่อสัปดาห์ครับ

7.ทักษะการเขียนแบบ และการเป็นช่าง

       อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้กันนะครับ เพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกหัวข้อที่มีการสร้างต้องมีการคำนวณ ออกแบบ เขียนแบบ ในทุกเล่ม ดังนั้นภายในกลุ่มต้องมีคนเขียนแบบเป็นอย่างน้อย 1 คน และควรมีฝีมือใช้เครื่องมือช่างเป็นด้วยเช่น เชื่อม กลึง มิลลิ่ง หากไม่เป็นก็ต้องหัดเอานะครับ 

      ในส่วนตัวผมคิดว่าหากทำครบและมีทั้ง 7 ข้อนี้แล้ววิชาโปรเจคก็คงไม่ไกลเกินที่เราจะข้ามไปได้นะครับ และในส่วนวัตถุประสงค์หากไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ เราก็ควรหาข้อมูลมาอธิบายว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ และจะมีแนวทางแก้ไขได้อย่างไร สรุปได้แบบนี้ หากทำโปรเจคไม่สำเร็จก็ผ่านได้นะครับ (แต่ส่วนใหญ่ผมไม่ค่อยเห็นนะครับ ) 
     ในบทความนี้ผมหวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อน้องที่ทำโปรเจคทุกคนนะครับ หากมีอะไรที่ผมช่วยได้ หรือต้องการสอบถามอะไร ก็ส่ง E-mail หรือ ส่งข้อความมาทาง Facebook ได้นะครับหากช่วยได้ผมยินดีครับ 



Work By Inventor

โปรเจค โปรเจ๊ง...ทำอย่างไรให้ผ่านด่านสุดท้ายก่อนจบ

Sarawut  |  at   14:34


       วิชานี้จะเป็นวิชาที่ต้องทำทุกคน คนที่ผ่านมาคงรู้ซึ้งถึงพลังงานบางอย่าง ว่าเป็นอย่างไรและหลังจากผมตัดสินใจแยกทางกับโปรเจคเทพ! สกู๊ตเตอร์ไฮบริด 
ถึงเวลาที่ผมต้องหาโปรเจคใหม่ ซึ่งต้องทำให้เสร็จภายในเทอม 2 ซึ่งเหลือเวลาอีก ประมาณ6เดือน ประสบการณ์ที่ได้จากโปรเจคไฮบริด ผมจึงมาวิเคราะห์ ปัญหาว่าทำไมไฮบริดมันถึงไม่สำเร็จ และถ้าหากหัวข้อใหม่ จะทำยังไงให้เสร็จ แล้วจบภายในเทอม 2

       หลังจากที่ผมได้วิเคราะห์ปัญหาผมได้เขียนมาเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1.การเลือกหัวข้อ 

       สำหรับการเลือกหัวข้อนั้นผมถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ผมอยากให้น้องๆนักศึกษาที่กำลังทำหรือกำลังจะเริ่มทำนั้น วิเคราะห์ตัวเองให้ดี ว่ามีความสามารถในเรื่องไหน ถนัดในเรื่องได และอีกอย่างก็คือเรื่อง เงิน ไม่ใช่ว่าเลือกหัวข้อเพราะว่า อาจารย์บอกว่าดี ทำได้ หรือหาหัวข้อเองไม่ได้ ก็ควรไปปรึกษาหลายๆ อาจารย์ เพื่อที่จะหลายหัวข้อ และนำแต่ละหัวข้อมาตัดสินใจ ว่าชอบอันไหน ถนัดอะไร ทำแบบนี้จะมีโอกาศ รอดดีที่สุด
หรือไม่ผมแนะนำอีกอย่าง คือการต่อยอดโปรเจคเก่าที่รุ่นพี่ทำ เพราะจะทำให้ประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลใหม่ เพราะกลุ่มเก่าเขาหามาให้เกือบหมดแล้ว เหลือแค่เรามองปัญหาของโปรเจคเดิมนั้นให้ออก แล้วหาทางแก้ไขของเดิม
       แต่เราควรมองโปรเจคตัวนั่น เนิ่นๆ แนะนำเลยนะครับ ตั้งแต่กลุ่มที่เราจะไปสานต่อกำลังสร้างควรไปช่วย หรือคลุกคลีกับเขา แล้วเราก็จะรู้โปรเจคนั้นโดยที่ไม่ต้องไปนับหนึ่งเลย .....
       อีกอย่างนอกจากหัวข้อแล้วภายในเล่มหัวข้อยังต้องมี วัตถุประสงค์ และ ขอบเขต ซึ่งสองอันนี้ก็สำคัญมาก เพราะอาจารย์ผู้สอบเขาจะดูตรงนี้เป็นหลัก และจะถามและสอบตรงนี้ตลอด ดังนั้นเวลาจะตั้งขอบเขตุของโปรเจค ควรคิดให้ดีก่อน นะครับ

2.บั๊ดดี้(ผู้ร่วมชะตากรรม)

        แน่นอนการทำโปรเจคนั้น อาจจะมีการร่วมงานกับเพื่อนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป จนถึงกลุ่มใหญ่ๆซึ่งโปรเจคนั้นต้องระดับมหาวิทยาลัย.. หรือไม่ก็อาจจะทำคนเดียวไปเลย ถ้าหากคนเดียว ส่วนใหญ่ก็จะเป็นโปรเจคไม่ค่อยใหญ่ หรือเป็นหัวข้อแนววิเคราะห์ ซึ่งจะใช้การคำนวณ สถิติ ค่อนข้างมาก ไม่ค่อยเหมาะกับสายช่างเท่าไหร่นัก อาจจะเหมาะกับสาย ม.6 ซึ่งเก่งด้านคำนวณกว่า หากเราต้องเลือกบั๊ดดี้นั้นก็ควรเลือกให้ดีนะครับ หาคนที่มีความรับผิดชอบ และต้องหมั่นปรึกษากันให้บ่อยๆเวลามีปัญหา อย่าเก็บไว้คนเดียวครับเพราะมันจะทำให้ อึดอัดมากยิ่งขึ้น แล้วอาจจะขัดแย้งจนทำให้ โปรเจคล่มได้ในที่สุด

3.อาจารย์ที่ปรึกษา 

         สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษานั้นก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าหากเราได้หัวข้อจากที่ปรึกษาท่านใด เราก็คงต้องเลือกอาจารย์ท่านนั้นเป็นที่ปรึกษาไปโดยปริยายใช่ไหมครับ ก่อนที่จะตกลงปลงใจ ก็ลองสอบถามรุ่นพี่ๆ หรือเพื่อนๆ ก่อนว่าอ.ที่ปรึกษาคนนั้นคนนี้ เป็นอย่างไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางตัดสินใจ เพราะเราก็ต้องเอาชีวิตของเราไปฝากที่อาจารย์ที่ปรึกษา ไปกว่า 70% เลยผมมั่นใจว่า 70% จริงๆ เพราะหากได้หัวข้อที่ถนัด อ.ที่ปรึกษาดี มีความรู้ตรงกับหัวข้อ รับรองมีชัยไปกว่า ครึ่ง จบ...แน่นอน ... แต่ที่อยากให้ดูก็คือ บางที ทุกอย่างลงตัว แต่อ.ที่ปรึกษา ประชุม อบรม หาตัวอยาก ไม่มีเวลานี้ก็แย่นะครับ หากเจอแบบนี้ก็ต้องคุยกับที่ปรึกษาให้ดีนะครับ เช่นขอตารางเวลาของที่ปรึกษา เพื่อนัดเจอหรือปรึกษา หากทำเองคิดเอง ประสบการณ์ไม่มี ก็มืดเอาง่ายๆเลยนะครับ
        นอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว อาจารย์ทุกๆท่าน ก็สามารถให้คำปรึกษาได้ แต่การไปปรึกษานั้นควรปรึกษาแบบศึกษามาก่อนนะครับ อย่าทะเล่อทะล่า เข้าไปถามตรงๆว่า อาจารย์ครับอันนี้ทำอย่างไรครับ ควรเข้าไปถามแบบ อาจารย์ครับ ผมทำอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ ควรแก้ไขยังไงครับ ประมาณนี้...

4.Internet

     ยุคนี้สมัยนี้อยากรู้อะไรก็ Google ครับ จะถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่ใหญ่ที่สุด และหาง่ายที่สุด แต่จะหาเจอไหม นั่นคือปัญหา และส่วนใหญ่ผมขอแนะนำนะครับ ถ้าจะเป็น ทฤษฎี ต่างของให้สืบค้นให้หนังสือในห้องสมุดเอานะครับ เพราะอาจารย์ ส่วนใหญ่เวลาเขาอ่าน เขาจะเน้นอ้างอิงหนังสือ ตำราทางวิศวกรรม ไม่ค่อยชอบสืบค้นแบบ Online แต่หากจำเป็นจริงๆ ก็ควรเป็นเวปที่ได้รับการยอมรับนะครับ ส่วนการค้นหา ผมขอเน้นให้ใช้ภาษาอังกฤษ Search หาเอานะครับ เพราะส่วนใหญ่ผมคิดว่าถ้าเป็นเครื่องจักรต่างๆ เวลาค้นคำว่า เครื่องต่างๆ ก็จะเจอแต่ในประเทศไทย แล้วไอเดียที่เราจะทำก็มีไม่เยอะ แต่หากใช้ภาษาอังกฤษ แล้วจะออกมาให้ดูเยอะมากทั้ง แบบต่างๆ วีดีโอ เพราะเป็นภาษาที่ใช้กันทั่วโลก 
     รวมถึงการใช้เวปบอร์ด ต่างๆสอบถามผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เราทำโปรเจคก็จะช่วยได้มากนะครับ 

5.บัญชีรายรับรายจ่าย

      ข้อนี้คงไม่ต้องบรรยายมากนะครับ ทำโปรเจคร่วมกันต้องขาดไม่ได้เป็นอันขาด ทั้งบิล และบันชีนะครับ เพราะเรื่องเงินเรื่องทอง มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยิ่งแบบก็ยังไม่มี แถมไม่เคยทำ BOQ  มีแต่คอนเซปในหัว ค่อยๆแก้เอาหน้างาน สร้างก่อนแล้วค่อยเก็บ Drawing ทีหลัง งบนี้ประเมินไม่ได้ บานแน่นอนครับ ส่วนใครมีเงินถุงเงินถังก็สบายไปหน่อย . . .

6.เวลา

       เรื่องเวลา มันเป็นเรื่องสำคัญอยู่แล้ว เพราะการลงเรียนวิชาโปรเจคจะใช้เวลา 1 เทอม เท่ากับเรียนวิชาอื่นๆ แต่นักศึกษาไกล้จบอย่างเราๆ ไม่เคยทำงานมาก่อน ดังนั้นหากจะให้เสร็จภารกิจภายใน 1 เทอมคงจะยากสักหน่อย ดังนั้น วิชานี้ควรเริ่มศึกษา หาหัวข้อ หาข้อมูลตั้งแต่เนิ่นๆ พอถึงเวลาแล้วค่อยลง วิชาโปรเจค เพราะวิชานี้จะมีกฎกติกามากมาย แค่ทำเรื่องต่างๆ หาอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการ เพื่อที่จะเซ็นแล้ว แต่ละคนยังกับนินจา หาตัวอยากจริงๆ เสียเวลาตรงนี้ไปเยอะเหมือนกันนะครับ ดังนั้นอย่างที่บอกในหัวข้ออาจารย์ที่ปรึกษา ควรหาตารางสอนจริงๆ ของทุกๆท่าน เบอร์โทร (ควรสอบถามก่อนว่าท่านสะดวกไหม) 
      ผมแนะนำว่าหากลงวิชานี้ ต้องมีเวลาให้กับมันจริงๆ ไม่ใช่ว่าเรียนเต็มคาบ จ-ศ แต่ยังดันลงโปรเจคอีก ผมรับรองว่าไม่ทันแน่นอนครับ อย่างๆน้อยๆควรจะมีเวลาให้กับวิชาโปรเจคนี้ 3 วันต่อสัปดาห์ครับ

7.ทักษะการเขียนแบบ และการเป็นช่าง

       อันนี้ก็สำคัญไม่แพ้กันนะครับ เพราะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกหัวข้อที่มีการสร้างต้องมีการคำนวณ ออกแบบ เขียนแบบ ในทุกเล่ม ดังนั้นภายในกลุ่มต้องมีคนเขียนแบบเป็นอย่างน้อย 1 คน และควรมีฝีมือใช้เครื่องมือช่างเป็นด้วยเช่น เชื่อม กลึง มิลลิ่ง หากไม่เป็นก็ต้องหัดเอานะครับ 

      ในส่วนตัวผมคิดว่าหากทำครบและมีทั้ง 7 ข้อนี้แล้ววิชาโปรเจคก็คงไม่ไกลเกินที่เราจะข้ามไปได้นะครับ และในส่วนวัตถุประสงค์หากไม่ได้ตามที่ตั้งไว้ เราก็ควรหาข้อมูลมาอธิบายว่าทำไมถึงเป็นแบบนี้ และจะมีแนวทางแก้ไขได้อย่างไร สรุปได้แบบนี้ หากทำโปรเจคไม่สำเร็จก็ผ่านได้นะครับ (แต่ส่วนใหญ่ผมไม่ค่อยเห็นนะครับ ) 
     ในบทความนี้ผมหวังว่าคงเป็นประโยชน์ต่อน้องที่ทำโปรเจคทุกคนนะครับ หากมีอะไรที่ผมช่วยได้ หรือต้องการสอบถามอะไร ก็ส่ง E-mail หรือ ส่งข้อความมาทาง Facebook ได้นะครับหากช่วยได้ผมยินดีครับ 



1 ความคิดเห็น :

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2557

         สวัสดีปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ นะครับ ขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขนะครับ..
เข้าเรื่องในหัวข้อเลยนะครับ เมื่อก่อนๆสมัยผมเริ่มหัดเขียนแบบใหม่ๆ (หัดเองนะครับไม่ได้ไปเรียนที่ไหน) ตั้งแต่ Autocad นู้น ... เขียนๆ หยุดๆ ไม่ได้จริงๆจังๆ เลยไม่ไปถึงไหนสักที  แต่สงสัยจังว่าคนออกแบบเครื่องกลทำไมเขาเขียนได้เก่งจัง แล้วแต่ละเครื่อง เขาจะใช้เวลาเท่าได? แล้วเขาต้องเขียนทุกชิ้นส่วนเลยเหรอ? แล้วทำไมเขาถึงได้ออกแบบแล้วเขียนได้เป็นเครื่องๆ ระยะถูกต้องแม่นยำแล้วเหมือนจริงมากๆ ส่วนตัวผม แค่แบริ่ง ตัวเดียว ใช้เวอร์เนีย 1 อัน นั่งวัดเล็งแล้วเล็งอีก ใช้เวลาหลายชั่วโมง T-T จึงเริ่มท้อให้การเขียนแบบ

        พอเวลาผ่านไป เหตุการณ์บังคับเพราะวิชาโปรเจควิศวกรรมเครื่องกล (ไม่อยากจะคุย โปรเจคของผมคือ สกู๊ตเตอร์ ไฮบริด แต่ทำไม่สำเร็จนะครับ 55 ) ซึ่งต้องได้เขียนแบบระบบส่งกำลัง และสกู๊ตเตอร์ทั้งคัน แล้วผมก็มาหัด Autocad 3D อีกครั้ง แต่ก็เหมือนเดิมทำไมมันยากอะไรเช่นนี้ จะเขียนเฟืองแต่ละตัว จะเขียนยังไง เปิดหนังสือ Designs ด้วยก็พอได้แต่ระยะ มืดแปดด้าน แต่พอดีว่าบ้านผมมี Internet เลยลองเซิทหาวิธีเขียน เฟืองเกียร์ จนได้ไปเจอ โปรแกรมออกแบบเครื่องกล  3D ว้าว..น่าสน ซึ่งโปรแกรมที่ผมรู้จักก็คือ Solidswork ซึ่งผมไม่รอช้า ไปหาซื้อแผ่นมาลองเลย (เป็นชุดเพื่อการศึกษานะครับ อยู่แถวๆร้านขายแผ่นเกมส์...อิๆ) แต่พอได้แผ่นมาแล้ว ด้วยความที่อยากเขียนมากจนลืมดูว่า โปรแกรมเขียนแบบจะต้องใช้ทรัพยากรของ Computor ขั้นต่ำเท่าไหร่ ได้แผ่นมาก็ลงไม่ได้อีก โถ่ชีวิต... เลยไม่ได้ใช้ Solidswork ซะที จากนั้นสมัยที่เรียนก็ได้ยินอาจารย์ที่คณะ พูดอีกคุณจะเก่ง เขียนแบบ Solidswork แค่ไหน พอเข้าไปทำงานโรงงานเขาใช้ Autocad ยังไงคุณก็ต้องเขียน Autocad อยู่ดี ได้ยินแบบนี้แล้วอ่าว...จริงหรือปล่าวหว้า.... แล้วตกลงควรจะหัด Solidswork ดีหรือปล่าว หรือจะกลับไปเอา Autocad เหมือนเดิม ........... 
      อยู่มาวันหนึ่งผมชอบเดินเข้าร้านหนังสืออยู่แล้ว ชอบซื้อหนังสือแต่ก็ อ่านไม่ค่อยจบ 555 เช่น Autocad , PLC , PIC microcontroller (อันนี้ซื้อผิด 55 เพราะเมื่อก่อนผมบ้า PLC ไปพักหนึ่ง พอเห็นแว๊ปๆนึกว่า PLC ที่ไหนได้พอมานั่งอ่าน เป็น PIC ) แต่พอมาอ่าน PIC แล้ว เริ่มชอบเพราะมันใช้อุปกรณ์ ราคาถูกกว่า PLC มากๆ สามารถทดลองได้เอง แต่ติดที่ ไม่เก่ง Electronic อีก ก็หาอีกที่มันง่ายกว่า PIC มีอีกไหม ก็ไปเจออันนี้ Arduino อันนี้ก็บ้าไปอีกพัก.. แต่สำหรับโปรเจค เทพ สกู๊ตเตอร์ ไฮบริด ก็ได้ใช้ตัว Arduino เป็นหัวใจของระบบนะครับ ถึงแม้ว่าผมจะไมได้เขียนเองก็ตามแต่ก็พอรู้นิดๆหน่อยๆ ซึ่ง มันยังเป็นความฝันอีกอย่างของผม ว่าสักวันผมต้องเก่งคอนโทรล ... อายุ 30 กว่า นี้ยังฝันได้นะครับ...อิๆ
จนมาเจออีกเล่ม Autodesk Inventor 2011 

     แต่เป็นหนังสือที่ห่อพลาสติกไม่สามารถเปิดอ่านในร้านได้  แต่ยิ่งดูไปอีก นี้มันค่ายเดียวกันกับ Autocad นี้หว่า ค่ายเดียวกันมันต้องทำงานร่วมกันกับ CAD ได้แน่ๆ เงินเหลือ 1000 ค่าหนังสือ 600 หุๆ ยังพอเหลือซื้อ มาม่า ประทั้งชีวิตได้อยู่ จากนั้นเลยได้รู้จักกับ Inventor ตั้งแต่นั้นมา นี้คือเหุตผลที่ผมใช้ Inventor ครับ แต่ก็ไม่ได้บ้ามากเท่าไหร่ แค่ 1เดือนแรกวันละ 6 ชั่วโมง พอจบเล่มนี้ก็ไปต่อใน Youtube อีก แล้วก็เขียนบ้างหยุดบ้าง เพราะโปรเจคเทพ ของผมไม่เวิร์คเท่าไหร่ ซึ่งผมเองก็ทำไม่สำเร็จผมก็เลยเลิกทำ แต่ผมก็พอเขียนแบบ Inventor ได้บ้าง นี้คือรูปโปรเจคเทพที่ผมทำ ฮ่าๆ.. 
          ส่วนด้านล่างนี้ก็คือรูปจริงที่สร้างนะครับ แต่ติดที่ คอนโทรลไม่จบ หมดไปหลายหมื่น(ซึ่งภาระผมเยอะมาก เมีย 1 ลูก1 )ทำมาเกือบ 2 ปีแล้วแต่ไม่เห็นวี่แวว ว่ามันจะวิ่ง ก็แค่วิชาเดียวทำอย่างไรให้มันจบไวที่สุด ผมเลยยอมครับเลยทำหัวข้ออื่นที่ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือนแล้วจบไวกว่า T-T 





     จากนั้นมา Inventor ก็เข้ามาแวะเวียนในชีวิตผมอีก เพราะโปรเจคหัวข้อใหม่ ซึ่งเกี่ยวกับการอบแห้ง คราวนี้ สำเร็จแล้วจบด้วยเวลา 6 เดือน ซึ่งผมก็ได้ใช้เจ้า Inventor ออกแบบอีกเช่นเคย(ซึ่งผมก็ไม่เคยไปทำงานออกแบบที่ไหนนะครับ ส่วนใหญ่หาเอาใน Internet) และโปรเจคนี้มีเพิ่มเติมอีกโปรแกรมหนึ่ง คือ Autodesk Simulation CFD เป็นโปรแกรมจำลองความเร็วลมและความร้อน จะเห็นได้นะครับค่าย Autodesk อีกแล้วฮ่าๆ ส่วนโปรเจคนี้ผมจะได้มาเล่าให้ฟังอีกทีนะครับ . . . 

         ปล.ผมอยากจะบอกว่าทุกโปรแกรม ไม่ว่าจะ Inventor หรือ Solidswork หรืออื่นๆทุกๆอย่างขึ้นอยู่กับผู้ใช้นะครับ 
ต่อให้โปรแกรมเทพขนาดไหน หากผู้ใช้ ใช้ไม่เป็น ไม่หัด ไม่ฝึก มันก็ไม่เป็นนะครับ 

  
Work By Inventor

ผมมารู้จัก Autodesk Inventor ได้อย่างไร แล้วทำไมต้อง Inventor

Sarawut  |  at   22:54

         สวัสดีปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ นะครับ ขอให้ทุกคนมีแต่ความสุขนะครับ..
เข้าเรื่องในหัวข้อเลยนะครับ เมื่อก่อนๆสมัยผมเริ่มหัดเขียนแบบใหม่ๆ (หัดเองนะครับไม่ได้ไปเรียนที่ไหน) ตั้งแต่ Autocad นู้น ... เขียนๆ หยุดๆ ไม่ได้จริงๆจังๆ เลยไม่ไปถึงไหนสักที  แต่สงสัยจังว่าคนออกแบบเครื่องกลทำไมเขาเขียนได้เก่งจัง แล้วแต่ละเครื่อง เขาจะใช้เวลาเท่าได? แล้วเขาต้องเขียนทุกชิ้นส่วนเลยเหรอ? แล้วทำไมเขาถึงได้ออกแบบแล้วเขียนได้เป็นเครื่องๆ ระยะถูกต้องแม่นยำแล้วเหมือนจริงมากๆ ส่วนตัวผม แค่แบริ่ง ตัวเดียว ใช้เวอร์เนีย 1 อัน นั่งวัดเล็งแล้วเล็งอีก ใช้เวลาหลายชั่วโมง T-T จึงเริ่มท้อให้การเขียนแบบ

        พอเวลาผ่านไป เหตุการณ์บังคับเพราะวิชาโปรเจควิศวกรรมเครื่องกล (ไม่อยากจะคุย โปรเจคของผมคือ สกู๊ตเตอร์ ไฮบริด แต่ทำไม่สำเร็จนะครับ 55 ) ซึ่งต้องได้เขียนแบบระบบส่งกำลัง และสกู๊ตเตอร์ทั้งคัน แล้วผมก็มาหัด Autocad 3D อีกครั้ง แต่ก็เหมือนเดิมทำไมมันยากอะไรเช่นนี้ จะเขียนเฟืองแต่ละตัว จะเขียนยังไง เปิดหนังสือ Designs ด้วยก็พอได้แต่ระยะ มืดแปดด้าน แต่พอดีว่าบ้านผมมี Internet เลยลองเซิทหาวิธีเขียน เฟืองเกียร์ จนได้ไปเจอ โปรแกรมออกแบบเครื่องกล  3D ว้าว..น่าสน ซึ่งโปรแกรมที่ผมรู้จักก็คือ Solidswork ซึ่งผมไม่รอช้า ไปหาซื้อแผ่นมาลองเลย (เป็นชุดเพื่อการศึกษานะครับ อยู่แถวๆร้านขายแผ่นเกมส์...อิๆ) แต่พอได้แผ่นมาแล้ว ด้วยความที่อยากเขียนมากจนลืมดูว่า โปรแกรมเขียนแบบจะต้องใช้ทรัพยากรของ Computor ขั้นต่ำเท่าไหร่ ได้แผ่นมาก็ลงไม่ได้อีก โถ่ชีวิต... เลยไม่ได้ใช้ Solidswork ซะที จากนั้นสมัยที่เรียนก็ได้ยินอาจารย์ที่คณะ พูดอีกคุณจะเก่ง เขียนแบบ Solidswork แค่ไหน พอเข้าไปทำงานโรงงานเขาใช้ Autocad ยังไงคุณก็ต้องเขียน Autocad อยู่ดี ได้ยินแบบนี้แล้วอ่าว...จริงหรือปล่าวหว้า.... แล้วตกลงควรจะหัด Solidswork ดีหรือปล่าว หรือจะกลับไปเอา Autocad เหมือนเดิม ........... 
      อยู่มาวันหนึ่งผมชอบเดินเข้าร้านหนังสืออยู่แล้ว ชอบซื้อหนังสือแต่ก็ อ่านไม่ค่อยจบ 555 เช่น Autocad , PLC , PIC microcontroller (อันนี้ซื้อผิด 55 เพราะเมื่อก่อนผมบ้า PLC ไปพักหนึ่ง พอเห็นแว๊ปๆนึกว่า PLC ที่ไหนได้พอมานั่งอ่าน เป็น PIC ) แต่พอมาอ่าน PIC แล้ว เริ่มชอบเพราะมันใช้อุปกรณ์ ราคาถูกกว่า PLC มากๆ สามารถทดลองได้เอง แต่ติดที่ ไม่เก่ง Electronic อีก ก็หาอีกที่มันง่ายกว่า PIC มีอีกไหม ก็ไปเจออันนี้ Arduino อันนี้ก็บ้าไปอีกพัก.. แต่สำหรับโปรเจค เทพ สกู๊ตเตอร์ ไฮบริด ก็ได้ใช้ตัว Arduino เป็นหัวใจของระบบนะครับ ถึงแม้ว่าผมจะไมได้เขียนเองก็ตามแต่ก็พอรู้นิดๆหน่อยๆ ซึ่ง มันยังเป็นความฝันอีกอย่างของผม ว่าสักวันผมต้องเก่งคอนโทรล ... อายุ 30 กว่า นี้ยังฝันได้นะครับ...อิๆ
จนมาเจออีกเล่ม Autodesk Inventor 2011 

     แต่เป็นหนังสือที่ห่อพลาสติกไม่สามารถเปิดอ่านในร้านได้  แต่ยิ่งดูไปอีก นี้มันค่ายเดียวกันกับ Autocad นี้หว่า ค่ายเดียวกันมันต้องทำงานร่วมกันกับ CAD ได้แน่ๆ เงินเหลือ 1000 ค่าหนังสือ 600 หุๆ ยังพอเหลือซื้อ มาม่า ประทั้งชีวิตได้อยู่ จากนั้นเลยได้รู้จักกับ Inventor ตั้งแต่นั้นมา นี้คือเหุตผลที่ผมใช้ Inventor ครับ แต่ก็ไม่ได้บ้ามากเท่าไหร่ แค่ 1เดือนแรกวันละ 6 ชั่วโมง พอจบเล่มนี้ก็ไปต่อใน Youtube อีก แล้วก็เขียนบ้างหยุดบ้าง เพราะโปรเจคเทพ ของผมไม่เวิร์คเท่าไหร่ ซึ่งผมเองก็ทำไม่สำเร็จผมก็เลยเลิกทำ แต่ผมก็พอเขียนแบบ Inventor ได้บ้าง นี้คือรูปโปรเจคเทพที่ผมทำ ฮ่าๆ.. 
          ส่วนด้านล่างนี้ก็คือรูปจริงที่สร้างนะครับ แต่ติดที่ คอนโทรลไม่จบ หมดไปหลายหมื่น(ซึ่งภาระผมเยอะมาก เมีย 1 ลูก1 )ทำมาเกือบ 2 ปีแล้วแต่ไม่เห็นวี่แวว ว่ามันจะวิ่ง ก็แค่วิชาเดียวทำอย่างไรให้มันจบไวที่สุด ผมเลยยอมครับเลยทำหัวข้ออื่นที่ซึ่งใช้เวลาประมาณ 6 เดือนแล้วจบไวกว่า T-T 





     จากนั้นมา Inventor ก็เข้ามาแวะเวียนในชีวิตผมอีก เพราะโปรเจคหัวข้อใหม่ ซึ่งเกี่ยวกับการอบแห้ง คราวนี้ สำเร็จแล้วจบด้วยเวลา 6 เดือน ซึ่งผมก็ได้ใช้เจ้า Inventor ออกแบบอีกเช่นเคย(ซึ่งผมก็ไม่เคยไปทำงานออกแบบที่ไหนนะครับ ส่วนใหญ่หาเอาใน Internet) และโปรเจคนี้มีเพิ่มเติมอีกโปรแกรมหนึ่ง คือ Autodesk Simulation CFD เป็นโปรแกรมจำลองความเร็วลมและความร้อน จะเห็นได้นะครับค่าย Autodesk อีกแล้วฮ่าๆ ส่วนโปรเจคนี้ผมจะได้มาเล่าให้ฟังอีกทีนะครับ . . . 

         ปล.ผมอยากจะบอกว่าทุกโปรแกรม ไม่ว่าจะ Inventor หรือ Solidswork หรืออื่นๆทุกๆอย่างขึ้นอยู่กับผู้ใช้นะครับ 
ต่อให้โปรแกรมเทพขนาดไหน หากผู้ใช้ ใช้ไม่เป็น ไม่หัด ไม่ฝึก มันก็ไม่เป็นนะครับ 

  

0 ความคิดเห็น :

General